|
:: ละเมิด, การใช้กรรมสิทธิ์,ห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง, อำนาจศาลอุทธรณ์
96719675/2544
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากอสังหาริมทรัพย์อันมีค่าเช่าหรืออาจให้เช่าได้
ในขณะยื่นคำฟ้องไม่เกินเดือนละ 4,000 บาท จึงต้องห้ามมิให้จำเลยอุทธรณ์ ในข้อเท็จจริงตาม
ป.วิ.พ. มาตรา 224
วรรคสอง ที่จำเลยอุทธรณ์ว่าที่ดินของ โจทก์มีทางเข้าออกหรือสามารถเข้าออกหรือใช้ประโยชน์จากน้ำในคลองมหาสวัสดิ์
ได้อย่างสะดวก การที่จำเลยอาศัยอยู่ในบริเวณที่ดินพิพาทมิได้ปิดบังหรือกีดขวาง
ทางเข้าออกคลองมหาสวัสดิ์นั้น เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์
ตามกฎหมาย มาตรา ดังกล่าว เมื่อไม่ปรากฏว่าศาลชั้นต้นวินิจฉัยข้อเท็จจริงผิดต่อ
กฎหมายหรือข้อเท็จจริงไม่พอแก่การวินิจฉัยข้อกฎหมาย การที่ศาลอุทธรณ์ หยิบยกข้อเท็จจริงดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยตามที่จำเลยอุทธรณ์แล้ววินิจฉัยว่าที่ดิน
ของโจทก์มีทางเข้าออกหรือสามารถเข้าหรือใช้ประโยชน์จากน้ำในคลองมหาสวัสดิ์
ได้อย่างสะดวก การที่จำเลยอาศัยอยู่ในบริเวณที่ดินพิพาทมิได้ปิดบังหรือกีดขวาง
ทางเข้าออกคลองมหาสวัสดิ์แต่อย่างใดนั้น เป็นการไม่ชอบ ต้องถือว่าข้อเท็จจริง
ได้ยุติไปแล้วตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
เมื่อจำเลยใช้สิทธิของตนปลูกบ้านในที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน
ปิดหน้าที่ดินของโจทก์เป็นเหตุให้โจทก์ไม่สามารถจะใช้หรือได้รับประโยชน์จากที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินนั้นได้โดยสะดวก
ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย หรือเดือดร้อนเกินที่ควรคิดหรือคาดหมายในการใช้ที่ดินของโจทก์
ถือได้ว่าโจทก์ ได้รับความเสียหายเป็นพิเศษ กรณีต้องบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา
421 และ 1337
การที่จำเลยปลูกบ้านอยู่ก่อนก็ไม่เป็นเหตุให้โจทก์ผู้มาทีหลังต้อง เสียสิทธิดังกล่าวไม่
โจทก์จึงมีสิทธิปฏิบัติการเพื่อยังความเสียหายหรือความ เดือดร้อนให้สิ้นไปโดยฟ้องจำเลยให้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างที่จำเลยปลูกสร้างอยู่ใน
ที่ดินของกรมชลประทานอันเป็นการกีดขวางทางที่โจทก์เข้าออกเพื่อใช้ประโยชน์
ในคลองมหาสวัสดิ์อันเป็นทางสาธารณะได้
:: ละเมิด, ความเสียหายอันมิใช่ตัวเงิน
2580/2544
โจทก์เป็นหญิง รับราชการเป็นอาจารย์ โดยตำแหน่งหน้าที่ ต้องพบปะผู้คนจำนวนมากแต่ต้องเสียบุคลิกภาพ
ใบหน้าเสียโฉมเนื่องจากหนัง ตาแหว่งเห็นตาขาวมากกว่าปกติ ย่อมเป็นความทุกข์ทรมานที่โจทก์รู้สึกได้อยู่
ตลอดเวลาตราบจนความเสียโฉมดังกล่าวจะได้รับการแก้ไข ค่าที่โจทก์ต้องทน ทุกข์ทรมานกับค่าที่โจทก์ต้องสูญเสียบุคลิกภาพตั้งแต่จำเลยผ่าตัดโจทก์จน
โจทก์ต้องไดรับการผ่าตัดแก้ไข้ถือเป็นความเสียหายอย่างอื่นอันมิใช่ตัวเงินตาม
ป.พ.พ. มาตรา 446
วรรคแรก
:: ละเมิด, ค่าสินไหมทดแทน, คำให้การไม่ชัดเจน ,พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ฯ
9523/2544
โจทก์บรรยายฟ้องยืนยันว่าโจทก์เป็นผู้สร้างสรรค์โปรแกรม คอมพิวเตอร์พิพาทนำไปติดตั้งในเครื่องคอมพิวเตอร์
IBM A/S 400 ของจำเลย ซึ่ง จำเลยมิได้ให้การปฏิเสธโดยชัดแจ้งว่าโจทก์มิใช่ผู้สร้างสรรค์โปรแกรมคอมพิวเตอร์
พิพาทตามคำฟ้อง โดยจำเลยคงให้การเพียงว่าโจทก์ไม่ใช่ผู้มีสิทธิในโปรแกรม คอมพิวเตอร์พิพาท
หากลิขสิทธิ์ในโปรแกรมคอมพิวเตอร์ดังกล่าวเป็นของโจทก์ จำเลยก็มิได้ละเมิดลิขสิทธิ์ต่อโจทก์เพราะจำเลยได้นำโปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้น
ไปใช้งานอันเป็นธุรกิจปกติของจำเลยตามที่เป็นวัตถุประสงค์แห่งการจ้างแรงงาน
ที่จำเลยได้จ้างโจทก์ ดังนี้ ตามคำฟ้องและคำให้การของจำเลยดังกล่าวถือได้ว่า
จำเลยรับว่าโจทก์เป็นผู้สร้างสรรค์โปรแกรมคอมพิวเตอร์ตามคำฟ้อง จึงไม่มีประเด็นข้อพิพาทที่ว่าโจทก์เป็นผู้สร้างสรรค์โปรแกรมคอมพิวเตอร์พิพาทหรือไม่
ข้อเท็จจริงในคดีจึงต้องรับฟังเป็นยุติว่าโจทก์เป็นผู้สร้างสรรค์โปรแกรมคอมพิวเตอร์พิพาท
เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้มีสัญชาติไทยเป็นผู้สร้างสรรค์โปรแกรม คอมพิวเตอร์พิพาทแล้วโจทก์ย่อมเป็นผู้มีลิขสิทธิ์ในโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ตนได้สร้างสรรค์ขึ้นตาม
มาตรา 8
แห่ง พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ฯ
แม้โจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลยและโจทก์สร้างสรรค์โปรแกรมคอมพิวเตอร์
พิพาทเพื่อใช้ในกิจการของจำเลยในฐานะที่โจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลยก็ตาม แต่
ตาม พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ฯ มาตรา 9
ก็เป็นการยืนยันอยู่ว่างานโปรแกรมคอมพิวเตอร์ พิพาทที่โจทก์สร้างสรรค์ขึ้นมาติดตั้งในเครื่องคอมพิวเตอร์ของจำเลยเพื่อใช้ใน
กิจการของจำเลยนั้นยังเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ของโจทก์อยู่ เว้นแต่โจทก์ผู้เป็น
ลูกจ้างและจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างจะได้ทำหนังสือตกลงกันไว้ให้งานโปรแกรม คอมพิวเตอร์พิพาทที่โจทก์สร้างสรรค์ขึ้นมานั้นตกเป็นลิขสิทธิ์ของจำเลย
ซึ่งไม่ ปรากฏว่าโจทก์และจำเลยได้ทำหนังสือตกลงกันไว้ดังกล่าว จึงรับฟังได้ว่าโจทก์เป็น
เจ้าของลิขสิทธิ์ในงานโปรแกรมคอมพิวเตอร์พิพาท
ระหว่างที่โจทก์เป็นลูกจ้างจำเลยนั้น
โจทก์อนุญาตให้จำเลยใช้โปรแกรม คอมพิวเตอร์ของโจทก์ในกิจการของจำเลย โดยปรากฏว่าโจทก์ไม่ได้คิดค่า
ตอบแทนในการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์นี้จากจำเลย ซึ่งแสดงให้เห็นว่าโจทก์ เอื้อเฟื้อให้จำเลยใช้ประโยชน์จากโปรมแกรมคอมพิวเตอร์ของโจทก์ดังกล่าว
เนื่องจากโจทก์เป็นลูกจ้างจำเลย แต่ต่อมาเมื่อโจทก์ออกจากการเป็นลูกจ้างจำเลย
และไม่ประสงค์จะอนุญาตให้จำเลยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ดังกล่าวต่อไป โจทก์ ก็ย่อมมีสิทธิทวงถามให้จำเลยคืนโปรแกรมคอมพิวเตอร์พิพาทแก่โจทก์ได้
แต่ จำเลยไม่ยอมคืนให้และยังใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ของโจทก์ต่อไปอันมีลักษณะ
เป็นการใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินของโจทก์โดยมิชอบ ย่อมทำให้โจทก์ได้รับความ
เสียหาย กรณีถือได้ว่าจำเลยได้ทำละเมิดต่อโจทก์ และศาลมีอำนาจกำหนด ค่าเสียหายตามพฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิดตาม
ป.พ.พ. มาตรา 438
การที่โจทก์ติดตั้งโปรแกรมคอมพิวเตอร์พิพาทในเครื่องคอมพิวเตอร์
IBM A/S 400 ของจำเลยเพื่อใช้ในกิจการของจำเลยนั้น ย่อมถือได้ว่าโจทก์ยอม ให้จำเลยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์พิพาทของโจทก์
แม้โจทก์ได้ลาออกจากการเป็น ลูกจ้างหรือพนักงานของบริษัทจำเลยตั้งแต่วันที่
1 กรกฎาคม 2540 ก็ตาม แต่จนกระทั่งวันที่ 30 พฤศจิกายน 2542 โจทก์โดยทนายความของโจทก์
จึงมีหนังสือแจ้งจำเลยให้ระงับการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์พิพาทและให้คืน โปรแกรมคอมพิวเตอร์แก่โจทก์ภายในวันที่
8 ธันวาคม 2542 เมื่อถึงกำหนด จำเลยไม่ยอมคืนให้โจทก์ ก็ต้องถือว่าจำเลยได้กระทำละเมิดต่อโจทก์เริ่มตั้งแต่วันที่
9 ธันวาคม 2542 ซึ่งเป็นวันที่โจทก์จะมีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากจำเลยเป็นต้นไป
มิใช่จำเลยต้องรับผิดชดใช่ค่าเสียหายตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2540 ซึ่งเป็นวันที่
โจทก์ลาออกจากการเป็นลูกจ้างบริษัทจำเลย
:: ละเมิด, ตัวแทนเชิด
1627/2544
รถแท็กซี่คันเกิดเหตุมีชื่อจำเลยที่ 2 และหมายเลข โทรศัพท์ของจำเลยที่ 2 ปรากฏอยู่ข้างรถ
การที่จำเลยที่ 1 นำรถคัน ดังกล่าวออกมาขับรับผู้โดยสาร ย่อมเป็นการแสดงออกต่อโจทก์ซึ่งเป็น
บุคคลภายนนอกออกมาสุจริตว่า จำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนเชิดของจำเลย ที่ 2 เจ้าของรถในการรับจ้างบรรทุกผู้โดยสาร
จำเลยที่ 2 จึงต้องร่วม รับผิดกับจำเลยที่ 1 ในผลแห่งละเมิดที่เกิดขึ้นตาม
ป.พ.พ. มาตรา 427,
821
:: ละเสียซึ่งประโยชน์แห่งอายุความ
9251/2544 จำเลยนำบัตรเครดิตไปใช้ครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่
4 มีนาคม 2538 และโจทก์ได้กำหนดเวลาให้จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์ภายในวันที่ 5
เมษายน 2538 ครบกำหนดชำระแล้วจำเลยไม่ชำระ โจทก์จึงอาจบังคับสิทธิเรียกร้องในหนี้ดังกล่าว
ภายในอายุความ 2 ปี นับแต่วันที่ 6เมษายน 2538 ซึ่งจะครบกำหนดในวันที่ 6 เมษายน
2540 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34
มิใช่ว่าโจทก์อาจบังคับสิทธิ เรียกร้องได้นับแต่วันที่โจทก์ยกเลิกการเป็นสมาชิกบัตรเครดิตของจำเลย
เมื่อโจทก์แจ้งยกเลิกการเป็นสมาชิกบัตรเครดิตและบอกกล่าวให้จำเลย
ชำระหนี้ที่ค้างแล้ว จำเลยได้ยินยอมชำระหนี้บางส่วนแก่โจทก์ 2 ครั้ง ครั้งแรกวันที่
30 มิถุนายน 2540 ครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 12 กันยายน 2540 ซึ่งถือมิได้ว่า
เป็นการรับสภาพหนี้ แต่แสดงว่าจำเลยมิได้ยกอายุความขึ้นมาปฏิเสธความรับผิด
ต่อโจทก์ตามที่เรียกร้อง ดังนั้น แม้สิทธิเรียกร้องของโจทก์จะขาดอายุความแล้ว
ก็ตาม แต่พฤติการณ์ของจำเลยที่ยินยอมชำระนี้ให้แก่โจทก์ถึง 2 ครั้ง ดังกล่าว
ย่อมถือเป็นการแสดงออกโดยปริยายว่าได้ละเสียซึ่งประโยชน์แห่งอายุความนั้นแล้ว
จำเลยจึงไม่อาจอ้างอายุความมาเป็นข้อตัดฟ้องเพื่อปฏิเสธความรับผิดตาม ป.พ.พ.
มาตรา 193/24
และการนับอายุความจึงเริ่มนับต่อไปใหม่เสมือนไม่เคยนับอายุ ความมาก่อนโดยถืออายุความแห่งมูลหนี้เดิม
กล่าวคือ นับอายุความเริ่มต่อไปใหม่ ตั้งแต่วันที่ 12 กันยายน 2540 โจทก์ยื่นคำร้องฟ้องเมื่อวันที่
14 กรกฎาคม 2541 ยังไม่ล่วงพ้นกำหนดเวลา 2 ปี คดีโจทก์จึงยังไม่ขาดอายุความ
:: ลาภมิควรได้, ห้ามคิดดอกเบี้ยเกินอัตรา, สืบพยานบุคคลแก้ไข
เอกสาร, ข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน
101/2544
หนังสือสัญญากู้ยืมเงินระบุว่ากู้ยอมให้ดอกเบี้ยแก่ ผู้ให้กู้ชั่งละ 1 บาทต่อเดือน
แต่โจทก์นำสืบว่าได้มีการตกลงด้วย วาจาให้คิดดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 2 ต่อเดือน
จำนวนเงินที่จำเลย ออกเช็คชำระให้แก่โจทก์เป็นการชำระดอกเบี้ยตามอัตราที่ตกลง
กันด้วยวาจา และจำเลยยังมิได้ชำระต้นเงินกู้ยืมกับยังค้าง ดอกเบี้ยอยู่อีก
จึงฟ้องเรียกต้นเงินกู้ยืมพร้อมดอกเบี้ยตามที่ระบุ ไว้ในสัญญากู้ยืมนั้น เป็นการนำสืบถึงรายละเอียดแห่งข้อเท็จจริง
ในมูลกรณีที่โจทก์ฟ้อง ไม่เป็นการต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา
94(ข)
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยตกลงให้โจทก์เรียกดอกเบี้ย
อัตราร้อยละ 2 ต่อเดือน เช็คที่จำเลยสั่งจ่ายเป็นการชำระดอกเบี้ย เงินกู้ยืนให้แก่โจทก์ซึ่งเกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนดไว้อัน
เป็นการฝ่าฝืน พ.ร.บ. ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราฯ มาตรา
3 ประกอบด้วย ป.พ.พ. มาตรา 654
และเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วย ความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลย่อมมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัย
ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142(5)
การที่จำเลยสมยอมชำระดอกเบี้ยเกินกว่าอัตราที่กฎหมาย
กำหนดไว้แก่โจทก์ถือได้ว่าเป็นการชำระหนี้ตามอำเภอใจโดยรู้ว่า ตนไม่มีความผูกพันที่จะต้องชำระตาม
ป.พ.พ. มาตรา 407
จำเลย ไม่มีสิทธิจะได้รับคืนดอกเบี้ยส่วนที่ได้ชำระไปแล้ว และจะให้นำ ไปหักกับต้นเงินไม่ได้
:: ลูกหนี้ร่วม, บังคับคดี
8232/2544
คำพิพากษาระบุไว้ชัดเจนว่าให้จำเลยทั้งสามร่วมกันชำระหนี้แก่โจทก์ หากไม่ชำระหนี้ให้ยึดที่ดินทรัพย์จำนองของจำเลยที่
3 ออกขายทอดตลาดนำเงินมา ชำระหนี้ เมื่อจำเลยที่ 3 นำเงินมาชำระหนี้แก่โจทก์เพื่อไถ่ถอนจำนองและโจทก์ตกลง
รับชำระหนี้ จึงเป็นการปฏิบัติตามคำพิพากษาในลำดับแรกแล้ว กรณีไม่จำต้องนำ
ที่ดินทรัพย์จำนองของจำเลยที่ 3 ออกขายตลาด
การที่โจทก์รับชำระหนี้และไถ่ถอนจำนองที่ดินให้แก่จำเลยที่
3 ย่อมทำให้หนี้ ของจำเลยที่ 3 ที่ชำระหนี้ในการไถ่ถอนจำนองระงับลงเท่าจำนวนที่ชำระหนี้ซึ่งมี
ผลถึงจำเลยที่ 1 และที่ 2 ที่เป็นลูกหนี้ร่วมตามคำพิพากษาด้วย เมื่อข้อเท็จจริง
ไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ตกลงปลดหนี้ให้แก่จำเลยที่ 3 หนี้ของจำเลยทั้งสามจึงยังไม่
ระงับไป หนี้ยังเหลืออยู่อีกจำนวนเท่าใด จำเลยทั้งสามยังคงต้องรับผิดร่วมกันอยู่
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 291
โจทก์จึงมีสิทธินำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินพิพาท ของจำเลยที่ 2 เพื่อขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้ตามคำพิพากษาต่อไปได้
จำเลยที่ 2 ไม่มีสิทธิขอให้ศาลเพิกถอนการยึดที่ดินพิพาทของจำเลยที่ 2 ได้
:: เลิกสัญญา
132/2544
โจทก์ทำสัญญาจะซื้อจะขายห้องชุดพิพาทโดยมุ่งหมาย จะได้รับประโยชน์จากการใช้สอยและยังมั่นใจว่าโครงการจะต้อง
ก่อสร้างให้แล้วเสร็จตามที่ระบุเอาไว้ในสัญญาจะซื้อจะขายห้องชุด และตามคำโฆษณาของจำเลย
ฉะนั้น กำหนดระยะเวลาก่อสร้าง แล้วเสร็จจึงเป็นเงื่อนไขสำคัญประการหนึ่งของสัญญา
การที่จำเลย ก่อสร้างห้องชุดพิพาทไม่แล้วเสร็จภายในกำหนดตามสัญญาเนื่อง มาจากผู้รับเหมาก่อสร้างดำเนินการล่าช้าจนต้องจัดหาผู้รับเหมา
รายใหม่มาดำเนินการแทนนั้นจำเลยในฐานะเจ้าของโครงการขนาดใหญ่และเป็นผู้คัดเลือกผู้รับเหมารายใหม่ดำเนินการแทนนั้นจำเลย
ในฐานะเจ้าของโครงการขนาดใหญ่และเป็นผู้คัดเลือกผู้รับเหมาก่อสร้างย่อมจะต้องจดหาผู้รับเหมาก่อสร้างที่มีความสามารถและ
ควบคุมกวดขันให้ผู้รับเหมาก่อสร้างดำเนินการก่อสร้างให้เป็นไป ตามกำหนดเวลาที่ได้ตกลงกันไว้ต่อโจทก์
การที่จำเลยทราบว่า ผู้รับเหมาก่อสร้างล่าช้า แต่จำเลยกลับไม่รีบดำเนินการแก้ไขเพื่อ
ให้อาคารชุดที่ก่อสร้างเสร็จทันภายในกำหนดและสามารถส่งมอบ ห้องชุดพิพาทให้แก่โจทก์ผู้จะซื้อได้
ความล่าช้าในการก่อสร้างจึง ถือว่าเป็นความบกพร่องของจำเลยเองหาใช่กรณีมีเหตุจำเป็นที่
จะเป็นเหตุให้จำเลยขยายกำหนดเวลาก่อสร้างแล้วเสร็จตามสัญญาออกไปได้
ที่จำเลยอ้างว่า
แม้จำเลยก่อสร้างแล้วเสร็จตามกำหนด โจทก์ ก็ไม่สามารถรับโอนกรรมสิทธิ์และเข้าครอบครองห้องชุดพิพาท
ได้เนื่องจากต้องรอการจดทะเบียนอาคารชุดและโอนกรรมสิทธิ์ ก่อนนั้น การจดทะเบียนนิติบุคคลอาคารชุดก็ดีการจดทะเบียน
โอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดก็ดี ล้วนเป็นข้อกำหนดในสัญญาอีกขึ้น ตอนหนึ่งแยกออกจากกันกับกำหนดระยะเวลาก่อสร้างแล้วเสร็จ
ตามสัญญา จะนำมาเกี่ยวพันกันหาได้ไม่ การที่จำเลยไม่ดำเนิน การก่อสร้างให้แล้วเสร็จภายในกำหนดจำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา
โดยไม่ต้องคำนึงถึงกำหนดระยะเวลาการโอนกรรมสิทธิ์ ห้องชุด พิพาท
เมื่อจำเลยไม่ดำเนินการก่อสร้างให้แล้วเสร็จจนเลยระยะเวลา
ที่กำหนดไว้ในสัญญาจะซื้อจะขายจึงเป็นการละเลยไม่ชำระหนี้แก่ โจทก์ โจทก์ย่อมมีสิทธิเลิกสัญญาได้โดยมิพักต้องบอกกล่าวก่อน
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 388
:: เลิกสัญญา, จ้างแรงงาน
1397/2544 จำเลยทำคำเสนอให้โจทก์ลาออกโดยยอมจ่ายเงินเพื่อตอบแทนการลาออก
ซึ่งโจทก์มีคำสนองรับคำเสนอของจำเลยโดยการ ลาออก จึงเกิดสัญญาขึ้นระหว่างจำเลยกับโจทก์และมีผลตามกฎหมาย
แล้วนับแต่วันที่โจทก์ยื่นหนังสือขอลาออก การที่ภายหลังจำเลยเลิกจ้าง โจทก์โดยอ้างว่าโจทก์ฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับของจำเลยอย่างร้ายแรง
กระทำทุจริตต่อหน้าที่และกระทำผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง ก็หามี ผลตามกฎหมายไม่
เพราะขณะนั้นโจทก์และจำเลยมิได้มีความสัมพันธ์ กันในฐานะนายจ้างและลูกจ้าง
ทั้งมิใช่เหตุตามข้อสัญญาหรือบทบัญญัติ ของกฎหมายที่จะบอกเลิกสัญญาได้ตาม ป.พ.พ.
มาตรา 386
จำเลยจึง ไม่อาจยกเหตุดังกล่าวมาเพื่อบอกเลิกสัญญาที่ทำกับโจทก์ได้
:: เลิกสัญญา, เช่าไม่มีกำหนดระยะเวลา
4551/2544
สัญญาเช่าตึกแถวพิพาทกำหนดระยะเวลาเช่า 8 เดือนตั้งแต่ เดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนตุลาคม
2539 ถ้าผู้เช่าผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าถือว่าสัญญา เช่าระงับลงโดยไม่ต้องบอกกล่าว
จำเลยชำระค่าเช่าถึงเดือนสิงหาคม 2539 แล้ว ผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าอีก ดังนี้
สัญญาเช่าตึกแถวพิพาทเป็นสัญญาเช่ามีกำหนด ระยะเวลาแน่นอน เมื่อผิดนัดไม่ชำระค่าเช่า
ต้องถือว่าสัญญาเช่าระงับโดยไม่ต้อง บอกกล่าวตาม ป.พ.พ. มาตรา
388 ฉะนั้น โจทก์จึงไม่จำต้องบอกกล่าวเลิกสัญญา
เช่าให้จำเลยทราบก่อนชั่วระยะเวลาเช่าตาม มาตรา 566
:: ส่งมอบทรัพย์สินที่ให้, ส่งมอบทรัพย์สินที่เช่า
8530/2544 แม้ข้อความในสัญญาที่จำเลยให้เครื่องวิทยุคมนาคมและอุปกรณ์แก่
โจทก์จะระบุว่าจำเลยตกลงโอนกรรมสิทธิ์ในเครื่องวิทยุคมนาคมให้แก่โจทก์ ผู้รับนับแต่วันทำสัญญา
และโจทก์ได้รับมอบเครื่องวิทยุคมนาคมพร้อมอุปกรณ์ ดังกล่าวแล้ว แต่ตามข้อเท็จจริงปรากฏว่าในวันทำสัญญานั้นจำเลยไม่ได้ส่งมอบ
เครื่องวิทยุคมนาคมและอุปกรณ์ให้แก่โจทก์ ดังนั้น สัญญาให้ดังกล่าวจึงขัดต่อ
ป.พ.พ. มาตรา 523
ซึ่งบัญญัติว่า การให้ย่อมสมบูรณ์ต่อเมื่อส่งมอบทรัพย์สิน ที่ให้สัญญาให้จึงไม่สมบูรณ์
เช่นเดียวกับสัญญาเช่าใช้เครื่องวิทยุคมนาคม และอุปกรณ์ระหว่างจำเลยกับโจทก์ที่ทำในวันเดียวกันนั้น
เมื่อโจทก์ไม่ได้ส่งมอบทรัพย์สินที่เช่าให้จำเลยนำไปใช้ แม้ในสัญญาจะมีข้อความว่าจำเลยตกลงนำเครื่องวิทยุคมนาคมและอุปกรณ์ไปติดตั้ง
ณ หน่วยงานของจำเลย สัญญาเช่าก็ไม่สมบูรณ์ เนื่องจากขัดต่อ ป.พ.พ. มาตรา
546 ซึ่งกำหนดว่า ผู้ให้เช่าต้องส่งมอบทรัพย์สิน
ซึ่งให้เช่านั้นในสภาพอันซ่อมแซมดีแล้ว โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกค่าเช่า ค่าเสียหาย
และบังคับให้จำเลยคืนวิทยุคมนาคมพร้อมอุปกรณ์
:: สละมรดก, การแบ่งปันทรัพย์มรดก
9504/2544
บันทึกข้อตกลงตามรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีที่ผู้ร้อง ผู้คัดค้าน และ ว. ทำกันหน้าเจ้าตำรวจมีข้อความชัดแจ้งว่า
ผู้ร้องและ ว. ขอสละ กรรมสิทธิ์ในทรัพย์มรดกให้แก่ผู้คัดค้านและยอมให้ผู้คัดค้านเป็นผู้ดำเนินการ
เกี่ยวกับทรัพย์มรดกแต่เพียงผู้เดียว แต่การเจาะจงให้ทรัพย์มรดกแก่ผู้คัดค้าน
เช่นนี้เป็นการยกทรัพย์มรดกส่วนของตนให้แก่ทายาทคนใดคนหนึ่ง ไม่ใช่การสละ มรดกตาม
ป.พ.พ. มาตรา 1612
อย่างไรก็ดีแม้ข้อตกลงระหว่างผู้ร้องและ ว. ฝ่ายหนึ่งกับผู้คัดค้านอีกฝ่ายหนึ่ง
ดังกล่าว จะไม่ใช่หนังสือสละมรดกตามกฎหมาย แต่ก็มีลักษณะเป็นสัญญาแบ่งปันทรัพย์มรดก
เมื่อทั้งสองฝ่ายลงลายมือชื่อไว้ใน หนังสือดังกล่าวแล้ว ย่อมผูกพันคู่สัญญาตา
มาตรา 1750
วรรคสอง ผู้ร้อง จึงไม่ใช่ทายาทผู้มีสิทธิได้รับทรัพย์มรดกหรือผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดก
และไม่มีอำนาจยื่นคำร้องของต่อศาลขอให้ตั้ง ว. เป็นผู้จัดการมรดกผู้ตาย
:: ส่วนควบ, ป.รัษฎากรฯ
882/2544
โจทก์ทำสัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์ตามโครงการจัดสรรประโยชน์กับการรถไฟแห่งประเทศไทย
โดยโจทก์ในฐานะผู้เช่าจะปลูกสร้าง อาคาร สิ่งปลูกสร้างและส่วนควบต่างๆ และให้บรรดาอาคาร
สิ่งปลูกสร้าง ทั้งหมดในพื้นที่เช่าที่ปลูกสร้างต่อเติม ดัดแปลง หรือติดตั้งขึ้นนั้นตกเป็น
กรรมสิทธิ์ของการรถไฟแห่งประเทศไทยทันทีที่ลงมือปลูกสร้างหรือติดตั้ง แล้วโจทก์มีสิทธินำอาคารดังกล่าวไปประกอบกิจการให้เช่าอสังหาริมทรัพย์
ได้จนกว่าจะครบอายุสัญญาเช่า 23 ปี พฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่าเป็นกรณี ที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้มีสิทธิในที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทยตามสัญญาเช่า
อสังหาริมทรัพย์ใช้สิทธินั้นปลูกสร้างโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นไว้ใน
ที่ดินที่เช่า บรรดาอาคาร สิ่งปลูกสร้างรวมทั้งวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ที่เป็นส่วน
ตรึงอาคารสิ่งปลูกสร้างทั้งหมดหาได้ตกเป็นส่วนควบของที่ดินที่โจทก์เช่า จากการรถไฟแห่งประเทศไทยตาม
ป.พ.พ. มาตรา 146
ไม่ การรถไฟแห่งประเทศไทยย่อมไม่มีกรรมสิทธิ์ในบรรดาอาคาร สิ่งปลูกสร้าง รวมทั้งวัสดุ
อุปกรณ์ต่างๆ ที่เป็นส่วนตรึงอาคารสิ่งปลูกสร้างตาม ป.พ.พ. มาตรา
144 วรรคสอง แต่การรถไฟแห่งประเทศไทยได้กรรมสิทธิ์ในบรรดาอาคาร
สิ่งปลูกสร้างรวมทั้งวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ที่เป็นส่วนตรึงอาคารสิ่งปลูกสร้างทั้งหมด
เนื่องมาจากข้อสัญญาเช่าฯ ที่โจทก์ตกลงให้ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของการรถไฟ แห่งประเทศไทยอันเป็นการแสดงให้เห็นอยู่ในตัวว่าโจทก์มีกรรมสิทธิ์ใน
อาคาร สิ่งปลูกสร้างและวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ดังกล่าว เพราะหากโจทก์ไม่มี กรรมสิทธิ์แล้วโจทก์ย่อมไม่อาจจะตกลงให้อาคาร
สิ่งปลูกสร้าง รวมทั้งวัสดุ อุปกรณ์ต่างๆ ดังกล่าวตกเป็นกรรมสิทธิ์แก่เจ้าของที่ดินในทันทีได้
กรณีดังกล่าว ถือได้ว่าโจทก์ได้จำหน่าย จ่ายโอนอาคาร สิ่งปลูกสร้าง รวมทั้งวัสดุอุปกรณ์
ต่างๆ ดังกล่าวอันเข้าบทนิยามคำว่า "ขาย" ตาม ป. รัษฎากรฯ มาตรา
91/1 (4) แล้วจึงเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์ที่ผู้ขายมีไว้ในการประกอบกิจการ
อันเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นการค้าหรือหากำไรตาม มาตรา
91/2 (6) ประกอบด้วยพระราชกฤษฎีกาออกตามความใน
ป. รัษฎากรว่าด้วย การขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทางค้าหรือหากำไร (ฉบับ 244)ฯ
มาตรา 3 (5) ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น
:: ส่วนควบ, สร้างโรงเรือนในที่ดินของผู้อื่นโดยสุจริต
9526/2544
คำว่า "สุจริต" ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1310
นั้น มีความหมายว่า ผู้ปลูกสร้างได้ปลูกสร้างโรงเรือนลงในที่ดินไม่ทราบว่าที่ดินเป็นของผู้ใด
แต่เข้าใจว่าเป็นที่ดินของตนเองและเชื่อว่าตนมีสิทธิปลูกสร้างโรงเรือนในที่ดินนั้น
โดยชอบ เมื่อจำเลยได้ปลูกบ้านในที่ดินพิพาทโดยอาศัยสิทธิของ ส. โดยทราบอยู่ว่า
ที่ดินพิพาทเป็นของ ส. และได้ขออนุญาต ส. ปลูกบ้าน จึงไม่อาจรับฟังได้ว่า จำเลยได้ปลูกบ้านในที่ดินพิพาทโดยสุจริต
แม้จำเลยต่อเติมบ้านในภายหลังอีก โดย ส. และโจทก์ไม่ห้ามปรามขัดขวางก็จะบังคับให้โจทก์ซึ่งเป็นทายาทของ
ส. รับเอาบ้านแล้วใช้ราคาที่ดินที่เพิ่มขึ้นไม่ได้ การที่จำเลยปลูกสร้างบ้านในที่ดินพิพาท
โดยอาศัยสิทธิของ ส นั้น มิได้ทำให้โรงเรือนตกลงเป็นส่วนควบของที่ดินพิพาทเป็น
กรรมสิทธิ์ของ ส. และโจทก์แต่อย่างใดตาม มาตรา 146
:: สัญญาจะซื้อจะขาย, ซื้อขายสังหาริมทรัพย์, ชั่งน้ำหนักพยานหลักฐาน,
พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ
1795/2544
การออกเช็คของจำเลยจะเป็นความผิดตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากใช้เช็คฯ
มาตรา 4
หรือไม่ โจทก์จะต้องนำสืบ ข้อเท็จจริงให้ได้ความสองประการคือ มีหนี้ที่จะต้องชำระ
และหนี้นั้นจะต้องบังคับได้ตามกฎหมาย คดีนี้ ธ. อ้างว่าจำเลยสั่งจ่ายเช็คพิพาทชำระหนี้
ค่าขายสินค้ายางรถยนต์และล้อแมกแก่โจทก์ร่วม เป็นการซื้อขายสังหาริมทรัพย์
ที่มีราคากว่า 500 บาทขึ้นไป แต่หลักฐานที่แสดงว่าจำเลยได้ซื้อและรับสินค้า
ไปจากโจทก์ร่วมแล้วตาม ป.พ.พ. มาตรา 456
วรรคสองและวรรคสาม โจทก์ร่วมหาได้มีมาแสดงหรือนำสืบถึงเหตุที่ไม่อาจนำมาแสดงได้ไม่
จึงไม่พอฟังได้ว่ามูลหนี้ที่จำเลยออกเช็คพิพาทมาจากการชำระหนี้ตามสัญญาซื้อขาย
ดังกล่าวมูลหนี้ที่ออกเช็คพิพาทจึงไม่มีอยู่จริงการกระทำของจำเลยจึงขาด องค์ประกอบความผิด
:: สัญญาต่างตอบแทน, ชำรุดบกพร่อง, รอนสิทธิทรัพย์สินที่เช่า
951/2544 โจทก์ผู้ให้เช่าชื้อต้องส่งมอบทรัพย์สินซึ่งให้เช่าซื้อ
โดยมีสภาพที่เหมาะสมแก่การใช้ประโยชน์ เมื่อรถพิพาทยังมิได้ทำทะเบี้ยและ แผ่นป้ายวงกลม
โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องจัดหาให้แก่จำเลย เพราะเอกสาร ดังกล่าวเป็นสาระสำคัญในการใช้รถโดยจะต้องเป็นผู้จัดอำนวยความสะดวก
ในการจดทะเบียนเพื่อใช้รถที่เช่าชื้อตามที่กำหนดไว้ในสัญญาเช่าซื้อ การ ที่โจทก์ส่งมอบรถพิพาทให้แก่จำเลยมีสภาพไม่เหมาะสมที่จะใช้
โดยไม่จัดหาป้ายทะเบียนและป้ายวงกลมให้แก่จำเลย โจทก์จึงต้องรับผิดต่อจำเลย
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 472
ประกอบ มาตรา 549
เนื่องจากสัญญาเช่าชื้อ เป็นสัญญาต่างตอบแทน เมื่อโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา จำเลยย่อมมีสิทธิ
ที่จะไม่ชำระค่าเช่าชื้อได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 369
การที่จำเลยไม่ชำระค่า เช่าชื้อให้แก่โจทก์จึงไม่ถือว่าจำเลยผิดนัด
:: สัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอก, เจ้าของรวม, สินสมรส,
อำนาจฟ้อง
4561/2544
บันทึกข้อตกลงเกี่ยวกับสินสมรสต่อท้ายทะเบียนการหย่าระหว่าง โจทก์กับจำเลยที่
1 ที่ตกลงยกบ้านพิพาทให้แก่บุตรทั้งสามนั้นเป็นสัญญาเพื่อ ประโยชน์บุคคลภายนอกตาม
ป.พ.พ. มาตรา 374
วรรคหนึ่ง แต่บุตรทั้งสาม ไม่ได้แสดงเจตนาต่อโจทก์กับจำเลยที่ 1 ว่าจะถือเอาประโยชน์จากสัญญานั้นตาม
มาตรา 374
วรรคสอง กรรมสิทธิ์ในบ้านพิพาทจึงยังเป็นของโจทก์กับจำเลยที่ 1 คนละครึ่ง นอกจากนี้โจทก์ยังอ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นสินสมรส
ซึ่งหากฟังได้ตาม ที่โจทก์อ้าง โจทก์ย่อมมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทคนละครึ่งหนึ่งเช่นเดียวกัน
การ ที่จำเลยที่ 1 นำที่ดินและบ้านพิพาทซึ่งโจทก์มีกรรมสิทธิ์ร่วมด้วยไปขายให้แก่
จำเลยที่ 2 โดยโจทก์มิได้ยินยอมด้วย ย่อมเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์
จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองได้
ว. ได้ยกที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่
1 ระหว่างปี 2514 ถึง 2516 ที่ดิน พิพาทจึงเป็นสินสมรสตาม ป.พ.พ. บรรพ 5 เดิม
มาตรา 1466
เพราะการให้มิได้แสดงว่าให้ไว้เป็นสินส่วนตัวตาม มาตรา
1464 (3) และกรณีเป็นการยกให้ก่อนปี 2519 จึงไม่อาจใช้ ป.พ.พ. บรรพ 5 ที่ได้ตรวจชำระใหม่
พ.ศ.2519 บังคับ นอกจากนี้จำเลยที่ 1 เคยขายฝากที่ดินพิพาทให้แก่ ท. เมื่อปี
2525 และมิได้ไถ่คืนภายในกำหนด ต่อมาจึงได้ซื้อคืนจาก ท. เมื่อปี 2526 แม้จะใส่ชื่อจำเลยที่
1 เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์เพียงผู้เดียว ก็ต้อง ถือว่าเป็นทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างสมรส
เป็นสินสมรสของโจทก์กับจำเลยที่ 1 ตาม มาตรา 1474
(1) ป.พ.พ. บรรพ 5 ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ.2519
ที่ดินและบ้านพิพาทเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยที่
1 แม้ จำเลยที่ 2 จะทำสัญญาดังกล่าวกับจำเลยที่ 1 โดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน
สัญญาดังกล่าวก็ไม่มีผลผูกพันกรรมสิทธิ์ส่วนของโจทก์ตาม มาตรา
1361 วรรคสอง แต่ยังคงมีผลผูกพันกรรมสิทธิ์ในส่วนของจำเลยที่
1 ตาม มาตรา 1361
วรรคหนึ่ง โจทก์จึงฟ้องขอให้เพิกถอนสัญญาซื้อขายที่ดินและบ้านพิพาทระหว่าง
จำเลยทั้งสองในส่วนที่เกี่ยวข้องกับกรรมสิทธิ์ของโจทก์ได้
:: สาธารณสมบัติของแผ่นดิน, โอนสาธารณสมบัติของแผ่นดิน, ผู้จัดการมรดกทายาท,
อำนาจฟ้อง, ค่าฤชาธรรมเนียม, ค่าทนายความ
2004/2544
เมื่อโจทก์ได้บริจาคที่ดินให้เป็นถนนสาธารณะจึงต้องถือ ว่าที่ดินตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภททรัพย์สำหรับพลเมืองใช้
ร่วมกันแล้วตาม ป.พ.พ. มาตรา 1304
(2) และ มาตรา 1305
และโอนแก่กันมิได้เว้นแต่อาศัยอำนาจแห่งบทกฎหมายเฉพาะหรือพระราชกฤษฎีกา นอกจากนี้สภาพความเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินไม่อาจสูญสิ้นไปเฉพาะ
การไม่ได้ใช้ตามวัตถุประสงค์ที่ขอบริจาก แม้โจทก์ได้กลับเข้าครอบครอง ใช้ประโยชน์ที่ดินพิพาทที่เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินดังกล่าวแล้วนาน
เพียงใดก็ไม่ทำให้กรรมสิทธิ์ตกไปเป็นของโจทก์ได้อีก เพราะตาม มาตรา
1306 บัญญัติห้ามมิให้ยกอายุความขึ้นต่อสู้กับแผ่นดินในเรื่องทรัพย์อันเป็น
สาธารณสมบัติของแผ่นดิน
การที่มีผู้จัดการมรดกอยู่ไม่ทำให้สิทธิของทายาทที่จะดำเนินการเพื่อ
รักษาผลประโยชน์ของกองมรดกเสียไป ทายาทผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์ มรดกมีสิทธิฟ้องคดีได้
โดยไม่จำต้องให้ผู้จัดการมรดกเป็นผู้ฟ้องคดีเสมอไป
ศาลชั้นต้นกำหนดค่าทนายความให้โจทก์ใช้แก่จำเลยสูงมาก
เมื่อพิจารณา ถึงสาเหตุที่ทำให้เกิดการฟ้องคดีนี้ขึ้น เป็นเพราะฝ่ายจำเลยมีส่วนปล่อย
ปละละเลยไม่ใช้ประโยชน์ที่ดินพิพาทในเวลาอันสมควรและโจทก์ไม่ได้ที่ดิน พิพาทคืน
จึงเห็นสมควรให้ค่าฤชาธรรมเนียมตกเป็นพับทั้งสามศาล
:: สาธารณสมบัติของแผ่นดิน,บุกรุก, บุกรุกโดยมีเหตุฉกรรจ์,
พ.ร.บ. ป่าสงวนแห่งชาติฯ
9132/2544
ที่นาพิพาทอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติและทางราชการยังมิได้จัดให้ เป็นที่ทำกินของราษฎร
จึงเป็นทรัพย์สินของแผ่นดินซึ่งสงวนไว้เพื่อประโยชน์ร่วมกัน ตาม ป.พ.พ. มาตรา
1304 การที่ พ. เข้ามาครอบครองทำนาในที่ดินพิพาท
ก็เพียงแต่ถือว่า พ. มีสิทธิในที่นาพิพาทดีกว่าบุคคลอื่น แต่ พ.ร.บ.
ป่าสงวนแห่งชาติฯ ห้ามมิให้บุคคลใดยึดถือครอบครองทำประโยชน์หรืออยู่อาศัยในที่ดิน
ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ พ. จึงยกเอาการครอบครองของตนใช้ยันต่อรัฐไม่ได้ ดังนั้น
แม้ พ. จะครอบครองหรือทำนาพิพาทนานเท่าใดก็ไม่ได้สิทธิในนาพิพาท ตามกฎหมาย
ทั้งยังอาจถูกฟ้องร้องขอให้ลงโทษตาม พ.ร.บ.
ป่าสงวนแห่งชาติฯ อีกด้วย จึงไม่ได้สิทธิครอบครองที่นาพิพาทโดยชอบด้วยกฎหมาย
ฉะนั้น แม้ จำเลยจะเข้าไปไถนาและปลูกข้าวในที่นาพิพาทก็ไม่เป็นการรบกวนการครอบครอง
ที่อสังหาริมทรัพย์ของ พ. อันจะเป็นความผิดฐานบุกรุกตาม ป.อ. มาตรา
362,365
:: สาธารณสมบัติของแผ่นดิน,พิพากษาไม่เกินคำฟ้อง,ไม่เกินคำขอ
998/2544
เดิมทางพิพาทรวมอยู่ในที่ดินแปลงใหญ่ของ ก. แล้ว ก. แบ่งให้บุตรแยกครอบครองเป็นส่วนสัด
บุคคลทั่วไปได้ใช้ทางพิพาท เดินออสู่ทางสาธารณะเป็นเวลานานกว่า 10 ปีโดยไม่มีการหวงห้าม
ทางดังกล่าวจึงเป็นทางสาธารณะโดยปริยาย อันเป็นสาธารณสมบัติ ของแผ่นดินประเภททรัพย์สินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันตาม
ป.พ.พ. มาตรา 1304
(2) โดยไม่จำต้องมีการจดทะเบียนยกให้เป็นทาง สาธารณะต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
โจทก์เพียงแต่ขอให้บังคับจำเลยรื้อรั้วคอนกรีตที่รุกล้ำออกจากทาง
สาธารณะและทำให้ทางอยู่ในสภาพเดิมเท่านั้น ไม่ได้มีคำขอให้มีระยะ ถอยร่นจากแนวรั้วนั้น
คำพิพากษาศาลล่างทั้งสองที่พิพากษาว่า โดย ให้มีระยะถอยร่นจาแนวรั้วดังกล่าวเป็นระยะ
75 เซนติเมตร ให้เสมอกับ แนวชายคาหน้าบ้านที่ปลูกอยู่ติดกับรั้วคอนกรีตของจำเลย
จึงเป็นการ พิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.
มาตรา 142
วรรคหนึ่ง ซึ่งเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วย ความสงบเรียบร้อยของประชาชน
แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกา เห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง
:: สิทธิครอบครอง
269/2544
แม้ในระหว่างระยะเวลาห้ามโอน 10 ปี โจทก์ซึ่งเข้า ครอบครองที่ดินพิพาทที่ซื้อมา
จะไม่ได้สิทธิครอบครองเนื่องจาก ต้องห้ามโดยบทบัญญัติแห่ง ป. ที่ดินฯ มาตรา
58ทวิ ก็ตาม แต่ เมื่อโจทก์ครอบครองที่ดินตลอดมาหลังจากเกินระยะเวลา
10 ปี ดังกล่าว โดยโจทก์ปลูกบ้านพร้อมขอเลขที่บ้านจากทางราชการ ย่อมแสดงให้เห็นว่าโจทก์อยู่ในที่ดินพิพาทโดยเจตนาจะยึดถือเพื่อ
ตนตลอดมา จำเลยไม่เคยเข้าไปยุ่งเกี่ยวแย่งการครอบครองแต่ อย่างใด ทั้งการที่จำเลยเสนอราคาเพื่อขอซื้อที่ดินพิพาทคืน
ก็ ยิ่งแสดงให้เห็นว่าจำเลยยอมรับถึงสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท ของโจทก์ โจทก์ย่อมได้ซึ่งสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทเพราะ
โจทก์เจตนาจะยึดถือเพื่อตนแล้วตาม ป.พ.พ. มาตรา 1367
:: สิทธิครอบครอง, ครอบครองปรปักษ์
6756/2544
แม้จำเลยจะเข้าใจผิดว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ดินโฉนดเลขที่ 2749 ที่ จำเลยซื้อมาตั้งแต่ปี
2472 ก็ตาม แต่ในความเป็นจริงแล้วไม่ใช่ที่ดินแปลงดังกล่าว จึง ไม่ใช่การครอบครองที่ดินของตนเองอันจะอ้างครอบครองปรปักษ์ไม่ได้
เมื่อจำเลย ครอบครองที่ดินซึ่งเป็นของโจทก์อันเป็นการครอบครองที่ดินของผู้อื่น
ลักษณะ ครอบครองของจำเลยแสดงออกโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของมาเป็นเวลา นานกว่า
10 ปีแล้ว จำเลยจึงได้กรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ ตาม ป.พ.พ.
มาตรา 1382
และการนับระยะเวลาครอบครองนั้นนับตั้งแต่เวลาที่ จำเลยเข้ายึดถือครอบครองที่ดินตลอดมา
หาใช่นับแต่วันที่ทำการรังวัดแล้ว ทราบว่าครอบครองที่ดินสลับแปลงกันไม่
:: สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับ, พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ
721/2544
สิทธิเรียกร้องของโจทก์ตามมูลหนี้เช็คระงับสิ้นไป ตามการประนีประนอมยอมความตาม
ป.พ.พ. มาตรา 852
แม้ตาม สัญญาประนีประนอมยอมความมีเงื่อนไขว่า โจทก์จะถอนฟ้องคดี ความผิดเกี่ยวกับ
พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ
ต่อเมื่อได้รับชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความแล้วก็ตาม ข้อตกลงดังกล่าวเป็นเพียงทำให้คดีไม่ระงับไปตาม
ป.วิ.อ. 39 (2) เท่านั้น แต่เมื่อผลของการทำสัญญาประนีประนอมยอมความทำให้
สิทธิเรียกร้องตามมูลหนี้เช็คระงับสิ้นไป กรณีจึงต้องด้วย มาตรา
7 พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ
ซึ่งบัญญัติให้ถือว่าคดี อาญาเป็นอันเลิกกันตาม ป.วิ.อ. เมื่อหนี้ตามเช็คได้สิ้นผลผูกพันไปแล้ว
คดีจึงเป็นอันระงับไปเพราะคดีเลิกกันตาม ป.วิ.อ. มาตรา
39
:: สิทธิยึดหน่วง
5897/2544
แม้จำเลยทั้งสองจะจ้างโจทก์ทำเพลทแม่พิมพ์หลายครั้ง แต่ในการจ้างแต่ละครั้งสามารถแยกออกจากกันได้
ดังนั้น หนี้ค่าจ้างตามสัญญา จ้างทำเพลทแม่พิมพ์ครั้งที่ 1 ถึงที่ 3 จึงไม่เกี่ยวกับการว่าจ้างครั้งที่
4 และไม่ เป็นคุณประโยชน์แก่โจทก์ด้วยเพลทแม่พิมพ์ตามสัญญาจ้างครั้งที่ 4 ที่โจทก์
ยึดถือไว้ ทั้งนี้ค่าจ้างทำเพลทแม่พิมพ์ครั้งที่ 4 ก็ยังไม่ถึงกำหนดชำระเนื่องจาก
โจทก์ให้เครดิตแก่จำเลยทั้งสองเป็นเวลา 90 วัน โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะยึดหน่วง
เพลทแม่พิมพ์ดังกล่าวตาม ป.พ.พ. มาตรา 214
:: สิทธิยึดหน่วง, มัดจำ, ผลของการเลิกสัญญา
7705/2544 โจทก์กับจำเลยทำสัญญาซื้อขายรถยนต์พิพาท
จำเลยมีหน้าที่ต้อง ปฏิบัติตามแผ่นปลิวโฆษณาเชิญชวนให้ซื้อรถยนต์ของจำเลยที่ระบุว่ารับโทรศัพท์
มือถือฟรีพร้อมประกันภัยชั้น 1 ซึ่งข้อความตามแผ่นปลิวโฆษณาดังกล่าวถือว่าเป็น
เงื่อนไข ในข้อเสนอขายของจำเลย จำเลยจึงต้องส่งมอบโทรศัพท์มือถือและทำสัญญา
ประกันภัยชั้นหนึ่งให้ ทั้งต้องดำเนินการเพื่อให้โจทก์ทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์พิพาท
ด้วยตามเงื่อนไขในข้อเสนอขายเมื่อจำเลยละเลยไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้อง ทั้งต่อมา
ยังนำรถยนต์พิพาทกลับไปไว้ในความครอบครอง การกระทำของจำเลยจึงเป็นการ ผิดสัญญาต่อโจทก์
และต่อมาโจทก์มีหนังสือบอกเลิกสัญญาทั้งฟ้องคดี จึงถือได้ว่า สัญญาซื้อขายรถยนต์พิพาทเลิกกันโดยปริยาย
อันมีผลให้คู่สัญญากลับคืนสู่ฐานะ เดิมตามป.พ.พ. มาตรา
391 วรรคหนึ่ง และจำเลยต้องส่งคืนเงินมัดจำแก่โจทก์
ตาม มาตรา 378
(3)
หนี้อันเป็นคุณประโยชน์แก่จำเลยเกี่ยวด้วยรถยนต์พิพาทอันจะก่อสิทธิแก่
จำเลยที่จะยึดหน่วงรถยนต์พิพาทไว้ต้องเป็นหนี้ที่เกิดจากการตรวจเช็คสภาพ รถยนต์ที่โจทก์ต้องรับผิดต่อจำเลยเท่านั้น
การชำระเงินดาวน์ของโจทก์ต่อจำเลย หาใช่หนี้ที่จะก่อให้จำเลยมีสิทธิยึดหน่วงรถยนต์พิพาทไม่
แม้หากโจทก์เป็นผู้ผิดสัญญา จำเลยมีสิทธิริบเงินมัดจำตามที่กฎหมายบัญญัติไว้
หามีสิทธินำรถยนต์พิพาทกลับ มาไว้ในครอบครองเพื่อบังคับให้โจทก์ชำระหนี้โดยไม่มีข้อสัญญากำหนดให้มีสิทธิ
กระทำได้
:: สินสมรส, จัดการสินสมรส
5856/2544 บิดาโจทก์ยกที่ดินพิพาทให้โจทก์และจำเลยที่
1 และเป็นทรัพย์สิน ที่โจทก์และจำเลยที่ 1 ได้มาระหว่างสมรส จึงเป็นสินสมรสตาม
ป.พ.พ. มาตรา 1474
(1 ) เมื่อจำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญาขายที่ดินพิพาทให้จำเลยที่ 2 แต่เพียง ฝ่ายเดียวโดยปราศจากความยินยอมของโจทก์ซึ่งเป็นคู่สมรส
นิติกรรมซื้อขาย ที่ดินพิพาทดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วยบทบัญญัติ มาตรา
1476(1) และเมื่อ จำเลยที่
2 เบิกความยอมรับว่าก่อนซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 รู้ว่าจำเลยที่
1 มีสามีคือโจทก์ จึงถือได้ว่าจำเลยที่ 2 รับโอนโดยไม่สุจริต โจทก์ มีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่
1 และที่ 2 กับนิติกรรมที่จำเลยที่ 2 ยินยอมให้จำเลยที่ 3 เข้าถือกรรมสิทธิ์
รวมในที่ดินพิพาทได้ตาม มาตรา 1480
:: หน้าที่นำสืบ, การวินิจฉัยพยานหลักฐาน
149/2544 โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยรับชำระหนี้เงินตามสัญญาก็
ยืมเงินและคืน น.ส. 3 ก. ที่ให้เป็นประกัน ดังนี้ เมื่อจำเลยยอม รับว่าโจทก์ได้ทำสัญญากู้ยืมเงินตามฟ้องจริง
แต่อ้างว่าได้เปลี่ยน สัญญากู้ยืมเงินกันใหม่อีก 2 ครั้ง จึงเป็นการกล่าวอ้างว่า
คู่กรณี ได้ทำสัญญาเปลี่ยนสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งหนี้คือจำนวนเงินที่ กู้ยืม
หากเป็นจริงตามที่จำเลยกล่าวอ้าง หนี้ตามสัญญากู้ยืมเงิน ตามฟ้องย่อมระงับสิ้นไปด้วยแปลงหนี้ใหม่ตาม
ป.พ.พ. มาตรา 349
โจทก์ย่อมขอชำระหนี้ตามสัญญาดังกล่าวอีกมิได้ เหตุนี้ จำเลย จึงมีภาระการพิสูจน์ว่ามีการแปลงหนี้ใหม่จริงหรือไม่
เมื่อกรณีเป็นที่ยุติแล้วว่า
หากโจทก์ชนะคดีก็ได้เพียงหนังสือ รับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3 ก.) ของตนคืนเท่านั้น
โจทก์จึง ไม่อาจให้จำเลยส่งมอบที่นาและห้ามจำเลยและบริวารเข้าเกี่ยวข้อง กับที่นาโจทก์
รวมทั้งไม่อาจเรียกค่าเสียหายจากจำเลยในกรณี จำเลยไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษา เพราะมิใช่การฟ้องขับไล่จำเลย
ที่โจทก์ต้องดำเนินการเป็นอีกเรื่องหนึ่งต่างหาก
:: หน้าที่นำสืบ, บัญชีระบุพยาน
395/2544 จำเลยรับว่าเป็นผู้ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คพิพาท
จึง
ต้องรับผิดชำระเงินตามเช็คพิพาทตาม ป.พ.พ. มาตรา 900,914
ประกอบ มาตรา 989
เมื่อจำเลยอ้างเหตุที่จะไม่ต้องรับผิด ภาระ การพิสูจน์จึงตกแก่จำเลย แต่จำเลยไม่สืบพยานข้อเท็จจริงจึงฟัง
ไม่ได้ตามที่ให้การต่อสู้ โดยโจทก์มิต้องนำสืบแต่ประการใดเนื่อง จากโจทก์ได้รับประโยชน์จากบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว
ดังนั้น โจทก์จะยื่นบัญชีระบุพยานหรือไม่ หรือว่าการยื่นบัญชีระบุ พยานของโจทก์จะถูกต้องตามบทบัญญัติของกฎหมายหรือไม่
ก็ ไม่ทำให้ผลของคดีเกี่ยวกับจำเลยเปลี่ยนแปลงไป
:: หนี้เงินตราต่างประเทศ, ข้อที่ไม่ได้ว่ากันมาในศาลล่าง
2512/2544 อุทธรณ์ของจำเลยว่า
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระค่าชดเชย สินจ้างแทน การบอกกล่าวล่วงหน้า และตั๋วเครื่องบินเป็นเงินดอลลาร์สหรัฐ
มิได้ขอให้จำเลย ชำระเป็นเงินตราไทย ศาลชั้นต้นมีอำนาจพิพากษาให้จำเลยชำระเงินดังกล่าวเป็น
เงินตราไทยหรือไม่นั้น เป็นอุทธรณ์ในข้อกฎหมายที่จำเลยไม่สามารถยกขึ้นกล่าว
ในศาลชั้นต้น จำเลยจึงยกขึ้นกล่าวในชั้นอุทธรณ์ได้
เมื่อจำเลยมีความผูกพันตามสัญญาต้องจ่ายเงินให้แก่โจทก์เป็นเงินดอลลาร์
สหรัฐ ซึ่งเป็นหนี้เงินที่กำหนดไว้เป็นเงินตราต่างประเทศ จำเลยอาจชำระเป็นเงินไทย
ก็ได้โดยคิดอัตราแลกเปลี่ยนเงิน ณ สถานที่ และเวลาที่ใช้เงินตาม ป.พ.พ. มาตรา
196 ซึ่งเป็นสิทธิของลูกหนี้ที่จะเลือกปฏิบัติการชำระหนี้
ศาลชั้นต้นไม่มี อำนาจที่จะเปลี่ยนแปลงสิทธิของลูกหนี้ได้โดยลำพัง
:: หนี้เงินต่างประเทศ, การรับฟังพยานหลักฐาน, พิพากษาไม่เกินคำฟ้อง,
ไม่เกินคำขอ, อุทธรณ์ฎีกา, พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดี
ทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ
90229023/2544
การส่งหมายเรียกพยานบุคคล
5 คนซึ่งอยู่ที่ประเทศอังกฤษให้มาเป็น พยานตามคำขอร้องของผู้คัดค้านต้องใช้เวลานานเกินสมควร
ไม่ทันกำหนดนัดสืบ พยานผู้คัดค้านและผู้ร้องซึ่งศาลชั้นต้น (ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้า
ระหว่างประเทศกลาง) ได้กำหนดนัดล่วงหน้าไว้แน่นอนแล้วโดยคู่ความทั้งสอง ฝ่ายเห็นชอบตามรายงานกระบวนพิจารณา
ศาลชั้นต้นจึงไม่อนุญาต อย่างไรก็ตาม ศาลชั้นต้นก็มิได้ปฏิเสธคำร้องขอของผู้คัดค้านเสียทั้งหมด
โดยยังคงเปิดโอกาสให้ ผู้คัดค้านส่งบันทึกถ้อยคำแทนการสืบพยานบุคคลของผู้ให้ถ้อยคำซึ่งอยู่ต่างประเทศ
หรืออาจขอสืบพยานบุคคลที่อยู่นอกศาลโดยระบบการประชุมทางจอภาพตาม พ้อกำหนดคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ
ข้อ 31 และข้อ 32 หรือนำพยานบุคคลดังกล่าวมาเป็นพยานเองก็ได้ แต่ผู้คัดค้านก็หาได้กระทำอย่าง
หนึ่งอย่างใดไม่ พฤติการณ์ส่อแสดงว่าผู้คัดค้านประวิงคดี ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่ง
ไม่อนุญาตเช่นนี้ชอบแล้ว
ที่ผู้คัดค้านอุทธรณ์ว่า
ร. อนุญาตโต้ตุลาการในประเทศอังกฤษไม่มีอำนาจ พิจารณาคดีนี้เพราะผู้คัดค้านได้คัดค้านไว้แล้วตามเอกสารท้ายคำคัดค้าน
โดยมิได้ อ้างเหตุผลว่าไม่มีอำนาจพิจารณาคดีอย่างไร จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชัดแจ้ง
ต้องห้าม อุทธรณ์ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและ
วิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา
45 ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา
225 วรรคหนึ่ง
ผู้ร้องคำร้องขอให้ผู้คัดค้านชำระหนี้ด้วยเงินตราต่างประเทศคือ เงิน ดอลลาร์สหรัฐและเงินปอนด์สเตอร์ลิงเท่านั้น
โดยขอให้คิดอัตราแลกเปลี่ยนตาม ป.พ.พ. มาตรา 196
วรรคสอง ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นพิพากษากำหนดให้คิด อัตราแลกเปลี่ยนเงินในวันที่มีคำพิพากษานั้น
นอกจากจะไม่เป็นไปตาม มาตรา 196
วรรคสองแล้ว ยังเป็นการพิพากษาเกินคำขอบังคับของผู้ร้องโดยกำหนดการคิด อัตราแลกเปลี่ยนขึ้นนอกเหนือจากที่ปรากฏในคำร้องขอ
ไม่ชอบด้วย พ.ร.บ. จัดตั้ง ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ
มาตรา 26
ประกอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 142
วรรคหนึ่ง
:: หนี้ที่สามีภริยาเป็นลูกหนี้ร่วมกัน
2065/2544 จำเลยที่
2 ซึ่งเป็นภริยาจำเลยที่ 1 ได้ลงชื่อในหนังสือ ให้ความ ยินยอมซึ่งระบุว่า
ยินยอมให้จำเลยที่ 1 ทำนิติกรรมเกี่ยวกับการ ซื้อและจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างและกู้ยืมเงินจากโจทก์ได้โดยไม่คัดค้าน
ถือว่าจำเลยที่ 2 ได้ร่วมรับรู้หนี้กู้ยืมเงินที่จำเลยที่ 1 ผู้เป็นสามีได้ก่อขึ้นเพื่อ
ประโยชน์แก่ตนฝ่ายเดียวในระหว่างสมรส และจำเลยที่ 2 ได้ให้สัตยาบันใน หนี้ดังกล่าวแล้ว
หนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินจึงเป็นหนี้ร่วมระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ตาม
ป.พ.พ. มาตรา 1490
(4) จำเลยที่ 1 จะต้องรับผิด ใช้หนี้ดังกล่าวร่วมกันต่อโจทก์
:: หลักฐานการเช่า, การตั้งตัวแทน, ฎีกา
7688/2544
การตั้งประเด็นในฎีกาเพื่อขอให้ศาลฎีกาวินิจฉัยนั้น ต้องกล่าวไว้ โดยชัดแจ้งในฎีกา
จะทำเป็นคำแถลงหาได้ไม่ ดังนั้น แม้จำเลยจะยื่นคำร้องขอ เพิ่มเติมฎีกาว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเพราะหนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีไม่ปิด
อากรแสตมป์ก็ตาม แต่จำเลยยื่นหลังจากพ้นกำหนดระยะเวลายื่นฎีกาแล้ว คำร้อง ดังกล่าวของจำเลยเป็นเพียงคำแถลงการณ์เท่านั้น
จึงไม่ก่อให้เกิดประเด็นในชั้นฎีกา
แม้โจทก์จะตั้ง
จ. เป็นตัวแทนทำสัญญาเช่าอาคารพิพาทกับจำเลยโดยมิได้ มีหลักฐานเป็นหนังสือตาม
ป.พ.พ. มาตรา 789
ก็ตาม แต่จำเลยยอมรับว่าจำเลย เช่าอาคารพิพาทตามที่โจทก์ฟ้อง และโจทก์ได้บอกเลิกสัญญาเช่าแก่จำเลยแล้ว
อีกทั้งคดีนี้โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยและเรียกร้องค่าเสียหาย อันเป็นเรื่องที่จำเลยและ
บริวารอยู่ในอาคารที่เช่าโดยละเมิด โจทก์จึงมีอำนาจขับไล่จำเลยจำเลยและบริวาร
ออกจากอาคารพิพาทและเรียกค่าเสียหายโดยมิต้องอาศัยสัญญาเช่าแต่ประการใด
:: หักกลบลบหนี้, การรับฟังพยานหลักฐาน พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ
668/2544
หนี้ที่ยังมีข้อต่อสู้ที่นำมาหักกลบลบหนี้ไม่ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา
344 นั้น หมายถึงหนี้ที่ฝ่ายหนึ่งอ้างแล้วอีกฝ่ายหนึ่งยังมีข้อโต้แย้ง
ไม่ยอมรับเมื่อจำเลยอ้างว่าโจทก์มีหนี้ที่ต้องรับผิด แต่โจทก์แถลงว่าหนี้ จำนวนนี้โจทก์มีข้อต่อสู้ไม่ยอมให้หักกลบลบหนี้
ถือว่าหนี้ดังกล่าวเป็นหนี้ ยังมีข้อต่อสู้อยู่แม้จะให้สืบพยานโจทก์และจำเลยในคดีนี้ไปก็ไม่ทำให้กลาย
เป็นหนี้ที่ไม่มีข้อต่อสู้จำเลยจึงนำหนี้มาหักกลบลบหนี้กับโจทก์ไม่ได้ การที่
ศาลชั้นต้นสั่งให้งดสืบพยานนั้นชอบแล้ว
:: หักกลบลบหนี้, ตีความสัญญา, ค้ำประกัน
58845885/2544
ตามสัญญาซื้อขายระบุว่าในวันทำสัญญาซื้อขาย จำเลยที่ 1 ได้นำหลักประกันเป็นหนังสือค้ำประกันของจำเลยที่
2 มาวางไว้แก่โจทก์ เพื่อเป็นประกันการปฏิบัติตามสัญญา หลักประกันนี้โจทก์จะคืนให้เมื่อจำเลยที่
1 พ้นจากข้อผูกพันตามสัญญา ดังนั้น หนังสือค้ำประกันจึงเป็นหลักประกันที่จำเลย
ที่ 1 นำมาวางไว้เผื่อความเสียหายในกรณีที่จำเลยที่ 1 ผิดสัญญาซื้อขาย โจทก์จึง
มีสิทธิเพียงเรียกให้จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกันรับผิดตามสัญญาค้ำประกันเท่านั้น
ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยที่ 1 รับผิดชำระเงินตามจำนวนในหนังสือค้ำประกัน
ต่อโจทก์ด้วยนั้น ไม่ถูกต้อง
สัญญาซื้อขายมีข้อตกลงที่ยินยอมให้โจทก์ปรับจำเลยที่
1 เป็นรายวันในอัตรา ร้อยละ 0.2 ของราคาสิ่งของที่โจทก์ยังไม่ได้รับมอบนับแต่วันถัดจากวันครบกำหนด
ตามสัญญา และในระหว่างที่จำเลยที่ 1 ต้องถูกปรับเป็นรายวันนั้น ถ้าโจทก์เห็นว่า
จำเลยที่ 1 ไม่อาจปฏิบัติตามสัญญาต่อไปได้ ก็มีสิทธิบอกเลิกสัญญาและคงปรับจำเลย
ที่ 1 เป็นรายวันจนถึงวันบอกเลิกสัญญาด้วยได้ กรณีมิใช่เมื่อโจทก์ใช้สิทธิบอกเลิก
สัญญาแล้วจะไม่มีสิทธิเรียกร้องเอาค่าปรับ
ความรับผิดของโจทก์ที่จะต้องชำระราคายางแอสฟัลต์ให้แก่จำเลยที่
1 กับความ รับผิดของจำเลยที่ 1 ที่จะต้องชำระค่าปรับและค่าเสียหายให้แก่โจทก์เกิดจากสัญญา
ซื้อขายรายเดียวกัน ต่างฝ่ายต่างผูกพันในหนี้อันเดียวกัน ดังนั้น ที่โจทก์ขอหักราคา
ยางแอสฟัลต์ที่ส่งมอบบางส่วนออกจากค่าปรับและค่าเสียหายที่จำเลยที่ 1 ต้องรับผิด
จึงไม่ใช่เรื่องหักกลบลบหนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 341
วรรคหนึ่ง แต่เพื่อความสะดวก แก่การบังคับตามคำพิพากษา จึงหักหนี้กันเสียโดยให้มีผลนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไป
:: ห้ามคิดดอกเบี้ยเกินอัตรา, พ.ร.บ. การธนาคารพาณิชย์ฯ,
พ.ร.บ. ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราฯ
8749/2544
โจทก์เป็นธนาคารพาณิชย์ ขณะจำเลยทำสัญญากู้ยืมเงินจากโจทก์ โจทก์ประกาศอัตราดอกเบี้ยโดยกำหนดอัตราดอกเบี้ยในการอำนวยสินเชื่อไว้สำหรับ
สินเชื่อสำหรับบุคคลทั่วไปว่า 1.1 กรณีอยู่ภายในวงเงินและไม่ผิดเงื่อนไขในการ
ผ่อนชำระอัตราร้อยละ 19 ต่อปี และ 1.2 กรณีเกินวงเงิน/ผิดเงื่อนไขในการ ผ่อนชำระอัตราร้อยละ
19 ต่อปี กรณีของจำเลยอยู่ในหลักเกณฑ์ข้อ 1.1 แต่ ในสัญญากู้ยืมเงินระบุดอกเบี้ยไว้อัตราร้อยละ
19 ต่อปี ในชั้นพิจารณาของศาล พนักงานฝ่ายสินเชื่อและเร่งรัดหนี้สินของโจทก์เบิกความยืนยันว่าคิดดอกเบี้ยอัตรา
ร้อยละ 19 ต่อปี ดังนี้ แม้ว่าโจทก์เป็นธนาคารพาณิชย์ ในการคิดอัตราดอกเบี้ย
มิได้อยู่ภายใต้ ป.พ.พ. มาตรา 654
แต่การคิดอัตราดอกเบี้ยของโจทก์จะต้องอยู่ ภายใต้บทบัญญัติของ พ.ร.บ. การธนาคารพาณิชย์ฯ
มาตรา 14
ซึ่งกำหนดให้ ธนาคารแห่งประเทศไทยออกประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดให้ธนาคาร
พาณิชย์ในเรื่องดอกเบี้ยและส่วนลด ซึ่งโจทก์ได้ออกประกาศดอกเบี้ยและ ส่วนลดตามอัตราดอกเบี้ยแต่ละกรณี
ดังนั้น การที่โจทก์กำหนดอัตราดอกเบี้ย เกินกว่าประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยและประกาศของโจทก์ดังกล่าวข้างต้น
จึงเป็นการปฏิบัติฝ่าฝืนต่อ พ.ร.บ. การธนาคารพาณิชย์ฯ เป็นการต้องห้ามตาม พ.ร.บ.
ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราฯ มาตรา 3 (ก) จึงเป็นโมฆะ
:: เหตุสุดวิสัย
9047/2544
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 8
เหตุที่จะถือได้ว่าเป็นเหตุสุดวิสัยนั้นจะต้อง เป็นเหตุที่เกิดขึ้นโดยไม่ใช่ความผิดของบุคคลนั้น
และต้องเป็นเหตุที่ไม่สามารถ ป้องกันได้แม้ผู้ประสบเหตุนั้นจะได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแล้ว
จำเลยประกาศขายโครงการบ้านที่พักอาศัยแก่ประชาชนทั่วไปรวมทั้งโจทก์
ไปแล้ว โดยที่ยังไม่ได้เตรียมเงินลงทุนไว้ให้พร้อมเสียก่อน ต่อมาเกิดปัญหาเกี่ยวกับ
เงินลงทุนโดยสถาบันการเงินระงับการให้กู้อันเป็นผลมาจากวิกฤติเศรษฐกิจ ทำให้การก่อนสร้างหยุดชะงัก
ดังนี้การที่เกิดปัญหาเกี่ยวกับเงินทุนดังกล่าวเกิดขึ้น เพราะความผิดของจำเลยที่ไม่เตรียมป้องกันทั้ง
ๆ ที่สามารถป้องกันได้ จึงไม่ถือว่า เป็นเหตุสุดวิสัยอันจะเป็นเหตุให้จำเลยหลุดพ้นจากความรับผิด
:: อายุความ
5319/2544
การให้บริการบัตรเครดิตเป็นวัตถุประสงค์ของโจทก์ การที่โจทก์ให้ บริการการใช้บัตรเครดิตแก่สมาชิกโดยเรียกเก็บเงินค่าธรรมเนียม
โจทก์จึงเป็นผู้ ประกอบกิจการในการรับทำงานต่าง ๆ ให้แก่สมาชิก และการที่โจทก์ได้ชำระเงินให้
แก่เจ้าหนี้ของสมาชิกไปก่อน รวมทั้งการที่โจทก์ยอมให้จำเลยนำบัตรเครดิตไปถอน
เงินสดจากเครื่องฝากถอนเงินอัตโนมัติ แล้วจึงเรียกเก็บเงินจากสมาชิกใน ภายหลังเป็นการเรียกเอาค่าทดรองที่ได้ออกไปก่อน
กรณีจึงถือได้ว่าโจทก์เป็น ผู้ประกอบกิจการในการรับทำการงานต่าง ๆ เรียกเอาเงินที่ได้ทดรองไปก่อน
สิทธิ เรียกร้องของโจทก์ในมูลหนี้ดังกล่าวจึงมีอายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา
193/34(7) เมื่อทางนำสืบปรากฏว่าโจทก์แจ้งงดใช้บัตรเครดิตตั้งแต่วันที่
10 กุมภาพันธ์ 2535 และมีการแจ้งให้ชำระหนี้ครั้งสุดท้ายก่อนวันดังกล่าวนี้แล้ว
โจทก์จึงอาจบังคับตามสิทธิเรียกร้องได้ตั้งแต่ต้นปี 2535 มิใช่วันที่คำบอกกล่าว
เลิกสัญญามีผลดังที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 วินิจฉัย เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้วันที่ 9
สิงหาคม 2539 พ้นกำหนด 2 ปี นับแต่วันที่โจทก์อาจบังคับตามสิทธิเรียกร้องของ
โจทก์ได้ ฟ้องของโจทก์จึงขาดอายุความ
:: อายุความ
6082/2544
การที่จำเลยหักจากค่าจ้างโจทก์ซึ่งเป็นพนักงานขาย เป็นงวดๆ เพื่อเป็นค่าสินค้าที่เรียกเก็บจากลูกค้าไม่ได้
โดยจำเลยจะต้อง จ่ายเงินคืนโจทก์เมื่อเก็บค่าสินค้าที่ขายให้แก่ลูกค้าได้แล้ว
เมื่อคดีที่จำเลย ฟ้องโรงเรียน ก. เรียกค่าเครื่องพิมพ์ดีดที่โจทก์นำไปขายได้เสร็จสิ้นเมื่อ
วันที่ 10 มีนาคม 2535 แสดงว่าจำเลยได้รับค่าสินค้าจากลูกค้าแล้วจึง ต้องเริ่มนับอายุความตั้งแต่วันดังกล่าว
ซึ่งเป็นวันที่โจทก์มีสิทธิบังคับ ตามสิทธิเรียกร้องเป็นต้นไปตาม ป.พ.พ. มาตรา
169 บรรพ 1 เดิม ซึ่ง เป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น
หนี้การเรียกเงินที่นายจ้างหักจาก ค่านายหน้าจากการขาย (ค่าจ้าง) ของลูกจ้างเพื่อชำระค่าเสียหายนั้น
ป.พ.พ. และกฎหมายอื่นมิได้บัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะจึงมีอายุความ 10 ปี ตาม
ป.พ.พ. มาตรา 164
บรรพ 1 เดิม โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2543 จึงไม่ขาดอายุความ
:: อายุความ
6737/2544
จำเลยได้ใช้บัตรเครดิตซิตี้แบงก์วีซ่าครั้งสุดท้ายวันที่ 13 สิงหาคม 2540 จากนั้นมิได้ใช้อีกต่อไป
แต่ได้ชำระหนี้บางส่วนให้แก่โจทก์รวม 2 ครั้ง เมื่อวันที่ 3 กันยายน 2540 และวันที่
6 ตุลาคม 2540 โดยยอดหนี้ ที่เหลือจำเลยจะต้องชำระภายในวันที่ 6 พฤศจิกายน
2540 ดังนี้ โจทก์ย่อมมี สิทธิใช้สิทธิเรียกร้องได้ตั้งแต่วันที่ 7 พฤศจิกายน
2540 ส่วนหนี้ตามบัตร เครดิตซิตี้แบงก์มาสเตอร์การ์ด จำเลยใช้ครั้งสุดท้ายวันที่
4 ตุลาคม 2540 และไม่เคยผ่อนชำระหนี้ที่เหลือแก่โจทก์ หนี้ถึงกำหนดชำระวันที่
1 ธันวาคม 2540 ดังนี้ โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกร้องได้ตั้งแต่วันที่ 2 ธันวาคม
2540 อายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34
(7) ย่อมเริ่มนับตั้งแต่วันที่โจทก์ ซึ่งเป็นเจ้าหนี้มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ดังกล่าวได้
ข้อกำหนดและเงื่อนไขในสัญญาซึ่งระบุว่าหากลูกหนี้ไม่ชำระตามใบแจ้งยอด
บัญชีถือว่าลูกหนี้ขอผัดผ่อนการชำระหนี้ เป็นเพียงการที่โจทก์ผ่อนปรนยังไม่ใช้สิทธิ
เรียกร้องแก่จำเลยเท่านั้น แต่หาเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงไม่
:: อายุความ
7355/2544
คำฟ้องของโจทก์บรรยายใจความว่า ระหว่างที่จำเลยเป็น พนักงานของโจทก์ได้ก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์โดยนำสินค้าไปขาย
และเก็บเงินจากลูกค้า ของโจทก์แล้ว แต่ไม่นำส่งเงินให้แก่โจทก์ ตามคำฟ้อง ดังกล่าวนอกจากจะบรรยายฟ้องเสนอข้อหาว่า
จำเลยซึ่งเป็นลูกจ้างกระทำ ละเมิดต่อโจทก์ให้ได้รับความเสียหายแล้ว ยังถือว่าโจทก์เสนอข้อหาว่า
จำเลยได้กระทำผิดสัญญาจ้างแรงงานทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายด้วย ซึ่งสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายกรณีนี้มิได้มีกฎหมายกำหนดอายุความไว้โดย
เฉพาะ ดังนั้น ย่อมมีอายุความ 10 ปีตาม ป.พ.พ. มาตรา
193/30 หาได้มี อายุความ
1 ปีไม่
:: อายุความ
7115/2544
จำเลยประกอบกิจการโรงงานผลิตสี น้ำมันวานิช แลคเกอร์ หมึกพ่มพ์ ทุกชนิด และผลิตภัณฑ์อื่นๆ
ที่เกี่ยวข้อง เพื่อจำหน่าย การที่จำเลยซื้อสินค้าจาก โจทก์ครั้งละมากๆ และเป็นเงินจำนวนมาก
แสดงว่าจำเลยซื้อสินค้าจากโจทก์ไป เพื่อผลิตสินค้าดังกล่าวเพื่อจำหน่ายและขาย
มิใช่ซื้อไปเพื่อใช้เป็นการเฉพาะ ภายในบริษัทจำเลย กรณีย่อมตกอยู่ในบังคับของ
ป.พ.พ. มาตรา 193/34
(1) ตอนท้ายที่ว่าเว้นแต่เป็นการที่ได้ทำเพื่อกิจการของฝ่ายลูกหนี้นั้นเอง
และอายุความ สิทธิเรียกร้องของโจทก์ย่อมมีกำหนด 5 ปี ตาม มาตรา
193/33 (5)
:: อายุความ
9647/2544
การกู้ยืมเงินตาม ป.พ.พ. มิได้กำหนดอายุความฟ้องร้องไว้โดยเฉพาะ จึงต้องถือว่ามีอายุความ
10 ปีตาม มาตรา 193/30
อายุความให้เริ่มนับแต่ ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไปตาม มาตรา
193/30 ดังนั้น เมื่อ
หนังสือสัญญากู้เงิน ข้อ 4 กำหนดไว้ว่า จำเลยจะต้องชำระดอกเบี้ยให้แก่โจทก์
ทุกเดือน ย่อมหมายความว่า จำเลยต้องชำระดอกเบี้ยให้แก่โจทก์เดือนแรกภายใน วันที่
28 กรกฎาคม 2531 การที่จำเลยไม่ชำระดอกเบี้ยให้แก่โจทก์เลยเช่นนี้ จึงถือว่าจำเลยประพฤติผิดสัญญา
ทั้งหนังสือสัญญากู้เงิน ข้อ 6 ระบุว่าโจทก์ มีสิทธิฟ้องเรียกเงินต้นและดอกเบี้ยจากจำเลยได้ทั้งหมดทันทีโดยไม่ต้องรอให้
ครบกำหนดเวลาชำระเงินต้นคืนตามที่กำหนดกันไว้ในสัญญา อันถือได้ว่ากำหนด เวลาที่โจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องเอาจากจำเลยได้นั้นเริ่มนับตั้งแต่วันที่
28 กรกฎาคม 2531 เป็นต้นไป โจทก์จึงต้องฟ้องเรียกเงินต้นและดอกเบี้ยคืนจาก
จำเลยภายในวันที่ 28 กรกฎาคม 2541 หาใช่เริ่มนับอายุความตั้งแต่วันที่ 28 มิถุนายน
2532 ซึ่งเป็นวันครบกำหนดชำระหนี้ตามที่ตกลงกันไว้ในสัญญา กู้เงินไม่
:: อายุความ
9554/2544
สัญญาใช้บัตรเครดิตเป็นข้อตกลงที่โจทก์ผู้ประกอบธุรกิจออกบัตร เครดิตให้แก่จำเลยเพื่ออำนวยความสะดวกแก่จำเลยในการชำระค่าสินค้าและบริการ
แทนเงินสดรวมทั้งเบิกถอนเงินสดไปจากโจทก์ โดยโจทก์จะออกเงินทดรองจ่ายแทน จำเลยไปก่อน
และโจทก์คิดค่าธรรมเนียมในการให้บริการบัตรเครดิตจากจำเลย โจทก์จึงเป็นผู้ประกอบธุรกิจรับทำการงานต่าง
ๆ ให้จำเลย โดยจำเลยตกลงยอม ให้โจทก์เรียกเอาเงินที่ได้ทดรองจ่ายออกไปคืนจากจำเลยได้
เงินที่โจทก์ทดรอง จ่ายแทนจำเลยตามข้อตกลง จึงเป็นหนี้ตามสัญญาที่เกิดจากบัตรเครดิต
และ มีอายุความในการใช้สิทธิเรียกร้อง 2 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา
193/34 (7) จำเลยมียอดหนี้การใช้บัตรเครดิตครั้งสุดท้ายวันที่
20 ธันวาคม 2538 และ โจทก์มีหนังสือแจ้งให้จำเลยชำระเงินตามยอดหนี้ดังกล่าวภายในวันที่
4 มกราคม 2539 พร้อมกับแจ้งการยกเลิกการใช้บัตรเครดิตของจำเลย จำเลยไม่ชำระหนี้
โจทก์ย่อมบังคับสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์ตั้งแต่วันที่ 5 มกราคม
2539 เป็นต้นไป โจทก์นำคดีมาฟ้องวันที่ 15 ธันวาคม 2541 คดีโจทก์ จึงขาดอายุความ
:: อายุความ, ดอกเบี้ยระหว่างผิดนัด
83408341/2544
โจทก์และจำเลยต้องปรับปรุงสัญญาขุดขนดินและถ่านลิกไนต์ในประเด็น
ราคาค่าจ้าง เพราะมีการยกเลิกระบบภาษีการค้ามาเป็นระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม จึงจำเป็นต้องหักภาษีการค้าซึ่งเดินรวมอยู่ในราคาค่าจ้างออกจากราคาค่าจ้างเดิม
เพื่อให้เหลือราคาค่าจ้างที่แท้จริง การที่โจทก์และจำเลยไม่ได้แก้ไขสัญญาในเรื่อง
การจ่ายกระแสไฟฟ้าเหมือนดังที่แก้ไขราคาค่าจ้างเช่นนี้ ย่อมแสดงให้เห็นว่าโจทก์
และจำเลยยังคงยึดถือข้อตกลงเดิมไม่เปลี่ยนแปลง จำเลยจึงต้องปฏิบัติตาม สัญญาที่ทำไว้กับโจทก์
คือมีหน้าที่ชำระค่ากระแสไฟฟ้าให้แก่โจทก์อัตรากิโลวัตต์ ชั่วโมงละ 1.20
บาท การที่โจทก์แยกคิดกระแสไฟฟ้าจากจำเลยโดยแยกเป็น ค่ากระไฟฟ้ากิโลวัตต์
ชั่วโมงละ 1.121495 บาท และค่าภาษีมูลค่าเพิ่ม 0.078505 บาทนั้น ทำให้โจทก์ได้รับเงินค่ากระแสไฟฟ้าไม่ครบ
โดยขาดหายไป เท่ากับจำนวนภาษีมูลค่าเพิ่ม จำเลยจึงต้องชำระเงินจำนวนนี้แก่โจทก์
โจทก์ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อจำหน่ายพลังงานไฟฟ้าให้แก่บุคคลทั่วไป
ดังเช่นการไฟฟ้านครหลวงหรือการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค การที่โจทก์จ่ายกระแสไฟฟ้า
ให้แก่จำเลยโดยคิดค่ากระแสไฟฟ้านราคาที่ต่ำมาก แสดงว่าโจทก์ไม่ได้จ่ายกระแส
ไฟฟ้าให้แก่จำเลยในเชิงการค้า หากแต่เป็นการจ่ายกระแสไฟฟ้าตามเงื่อนไขของ สัญญาจ้างเหมาขุดขนดินและถ่านลิกไนต์ระหว่างโจทก์และจำเลย
ซึ่งนอกจาก โจทก์จะต้องจ่ายกระแสไฟฟ้าให้แก่จำเลยดังกล่าวแล้ว โจทก์ยังต้องจัดหาน้ำมัน
ดีเซลหมุนเร็วส่งถึงบริเวณถังน้ำมันของเมืองแม่เมาะให้แก่จำเลยตามสัญญาด้วย
ข้อตกลงเรื่องกระแสไฟฟ้าระหว่างโจทก์กับจำเลยตามเงื่อนไขของสัญญาจึงเป็น เรื่องเฉพาะกิจ
ไม่ได้ทำเป็นปกติธุระเช่นจำหน่ายให้แก่บุคคลทั่วไป ถือไม่ได้ว่า โจทก์เป็นผู้ประกอบการค้าตามนัยแห่ง
ป.พ.พ. มาตรา 193/34
(1) ประกอบ กับหนี้คดีนี้เกิดจากโจทก์สำคัญผิดว่าโจทก์ต้องเป็นผู้รับภาระภาษีมูลค่าเพิ่มแทน
จำเลย จึงคิดค่ากระแสไฟฟ้าจากจำเลยขาดตกบกพร่องเท่ากับจำนวนภาษีมูลค่าเพิ่ม
เมื่อหนี้ส่วนนี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ
10 ปีตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30
ตามสัญญาจ้างเหมาขุดขนดินและถ่านลิกไนต์
โจทก์เรียกเก็บค่ากระแส ไฟฟ้าจากจำเลยเป็นงวด ตามงวดของการทำงานที่จำเลยส่งมอบให้แก่โจทก์
และ จำเลยจะต้องชำระค่ากระแสไฟฟ้าให้แก่โจทก์หลังจากได้รับแจ้งจากโจทก์เป็น
ลายลักษณ์อักษรภายใน 30 วัน ถ้าผิดนัดจำเลยจะต้องเสียดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ เท่ากับอัตราดอกเบี้ยที่โจทก์เสียให้แก่ธนาคาร
แต่หนี้ในคดีนี้ไม่ใช่ค่ากระแสไฟฟ้า ที่โจทก์เรียกเก็บจากจำเลยตามงวดของการทำงานดังที่ระบุไว้ในสัญญา
หากแต่ เป็นหนี้ที่เกิดจากโจทก์สำคัญผิดว่าโจทก์ต้องเป็นผู้รับภาระภาษีมูลค่าเพิ่มแทน
จำเลย ทำให้คิดค่ากระแสไฟฟ้าจากจำเลยขาดจำนวนไป จำเลยจึงไม่ต้องเสีย ดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ตามอัตราที่โจทก์เสียให้แก่ธนาคารตามสัญญา
แต่เมื่อเป็นหนี้เงิน จำเลยจึงต้องเสียดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดอัตราร้อยละ
7.5 ต่อปีให้แก่โจทก์ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 224
:: อายุความ, จ้างทำของ, สินจ้าง
2326/2544
สัญญาจ้างทำของไม่ต้องกระทำตามแบบหรือมีหลักฐานเป็นหนังสือ เพียงแต่ผู้รับจ้างตกลงรับจะทำการงานสิ่งใดสิ่งหนึ่งจนสำเร็จให้แก่ผู้ว่าจ้าง
และผู้ว่าจ้าง ตกลงจะให้สินจ้างเพื่อผลสำเร็จแห่งการที่ทำนั้นก็เป็นการเพียงพอที่จะฟ้องร้อง
บังคับคดีกันได้ ในรายการเพิ่มเติมมีการเปลี่ยนแปลงวัสดุก่อสร้างที่มีคุณภาพ
ให้ดีขึ้นกว่าเดิมและมีการเพิ่มงานมากขึ้น ซึ่งก็หมายความว่าราคาค่าก่อสร้าง
จะต้องเพิ่มขึ้นกว่าราคาเดิมอย่างมาก ประกอบกับเจ้าของห้องชุดที่มีความประสงค์
จะเปลี่ยนแปลงแบบจะต้องได้รับอนุญาตจากโจทก์เสียก่อน จึงฟังได้อย่างแน่ชัดว่า
จำเลยได้ตกลงให้โจทก์ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงห้องชุดตามรายการเพิ่มเติมโครงการจริง
จำเลยจึงต้องรับผิดในค่าใช้จ่ายส่วนนี้ต่อโจทก์
งานติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าได้ดำเนินการเสร็จในเดือนพฤษภาคม
2534 แต่ เป็นเรื่องระหว่างโจทก์กับ บ. ในเมื่อขณะนั้นการก่อสร้างงานส่วนที่
17 ยังไม่ แล้วเสร็จ ย่อมมีเหตุผลอันควรที่โจทก์จะรอส่งมอบงานทั้งสองอย่างนี้พร้อมกัน
แต่ตราบใดที่ยังไม่มีการส่งมอบงานระหว่างโจทก์กับจำเลย สิทธิเรียกร้อง ของโจทก์ในการจะเรียกสินจ้างจากจำเลยก็ยังไม่เกิด
ซึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/12
บัญญัติว่า "อายุความให้เริ่มนับแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้
เป็นต้นไป..." และสิทธิเรียกร้องสินจ้างของโจทก์จะเกิดขึ้นเมื่อได้ส่งมอบการที่ทำ
ตาม มาตรา 602
วรรคหนึ่ง ซึ่งบัญญัติว่า "สินจ้างนั้นพึงใช้ให้เมื่อรับมอบการ ที่ทำ"
เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ตามที่โจทก์นำสืบและจำเลยไม่ได้โต้แย้งในข้อนี้ว่า
โจทก์ได้ส่งมอบการที่ทำแก่จำเลยในวันที่ 5 มิถุนายน 2534 และโจทก์ยื่นฟ้อง
จำเลยเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2536 เช่นนี้ สิทธิเรียกร้องตามคำฟ้องของโจทก์
ส่วนนี้จึงหาขาดอายุความไม่
:: อายุความ, พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ
8622/2544
การที่จำเลยจะยกข้อต่อสู้ในเรื่องอำนาจศาลว่าคดีใดจะอยู่ในอำนาจ พิจารณาพิพากษาของศาลแรงงานกลางหรือไม่
จำเลยจะต้องยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ไว้ ในคำให้การให้เป็นประเด็นพิพาท เพื่อที่จะได้ส่งปัญหาดังกล่าวให้อธิบดีผู้พิพากษา
ศาลแรงงานวินิจฉัยตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา
9 วรรคสอง ก่อนที่ศาลแรงงานกลางจะพิพากษาคดี
เมื่อจำเลยมิได้ ยกข้อต่อสู้ดังกล่าวไว้ในคำให้การแสดงว่าจำเลยยอมรับอำนาจของศาลแรงงานกลาง
ที่จะพิจารณาพิพากษาคดีนี้ได้ เมื่อศาลแรงงานกลางพิจารณาพิพากษาคดีนี้แล้ว
จำเลยเพิ่งจะยกปัญหาดังกล่าวขึ้นในชั้นอุทธรณ์จึงเป็นการล่วงเลยเวลาที่จะ พิจารณาปัญหานี้อยู่แล้ว
จำเลยไม่มีสิทธิอุทธรณ์
ตามคำฟ้องโจทก์เสนอข้อหาต่อศาลว่าจำเลยกระทำผิดสัญญาจ้างแรงงาน
ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายที่โจทก์ซึ่งเป็นนายจ้าง
เรียกเอาจากจำเลยซึ่งเป็นลูกจ้างดังกล่าว มิได้มีกฎหมายกำหนดอายุความไว้ โดยเฉพาะ
ย่อมมีอายุความ 10 ปีตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30
:: อายุความ, พ.ร.บ.ล้มละลายฯ
7308/2544
แม้การที่เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายคดีก่อนจะ ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงตาม
ป.พ.พ. มาตรา 193/14
(3) แต่ก็ปรากฏว่าศาล ในคดีดังกล่าวเห็นชอบตามความเห็นของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่ให้ยกคำขอ
รับชำระหนี้ค่าสินค้าที่ลูกหนี้ค้างชำระ ซึ่งเจ้าหนี้มิได้อุทธรณ์ คำสั่งศาลในคดี
ดังกล่าวจึงถึงที่สุด ต้องถือว่าอายุความไม่เคยสะดุดหยุดลงตาม มาตรา
193/17 และ มาตรา
193/18 ดังนั้น เมื่อเจ้าหนี้นำหนี้ค่าสินค้าดังกล่าวมาฟ้องคดีนี้เมื่อ
พ้นกำหนด 2 ปี นับแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไป มูลหนี้ ดังกล่าวจึงขาดอายุความตาม
มาตรา 193/34
(1) จึงต้องห้ามมิให้ขอรับชำระหนี้ ตาม พ.ร.บ. ล้มละลายฯ มาตรา
94 (1)
:: อายุความ, เลิกสัญญา, อายุความจ้างทำของ
8001/2544
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ในฐานะวิศวกรผู้ออกแบบปฏิบัติผิด สัญญาจ้างออกแบบผิดพลาดเกี่ยวกับการใช้สารกันน้ำซึม
และฟ้องจำเลยที่ 1 ที่ 3 ที่ 5 และที่ 6 ในฐานะวิศวกรผู้ควบคุมงานปฏิบัติผิดสัญญาจ้างมิได้ตรวจสอบแบบ
และข้อกำหนดเกี่ยวกับสารนน้ำซึมและวัสดุพื้นผิวจราจรที่ใช้ในการก่อสร้างว่าถูกต้อง
สามารถนำไปใช้งานได้หรือไม่ ทำให้เกิดความเสียหายขึ้น ฟ้องของโจทก์จึงไม่ใช่
การฟ้องเรียกค่าเสียหายเพื่อการที่ชำรุดบกพร่อง อันมีอายุความ 1 ปีตาม ป.พ.พ.
มาตรา 601
แต่เป็นการฟ้องให้รับผิดเนื่องจากการผิดสัญญาจ้างธรรมดา คือออกแบบและควบคุมงานผิดพลาดซึ่งเป็นกรณีที่ไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่อง
อายุความไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้อายุความทั่วไปคือ 10 ปีตาม ป.พ.พ. มาตรา
193/30
สัญญาจ้างทั้งสองฉบับระบุเรียกชื่อคู่สัญญาฝ่ายจำเลยทุกคนรวมกันว่า
"วิศวกร" ซึ่งบ่งบอกถึงหน้าที่และความรับผิดชอบที่ต้องร่วมกันรับผิดต่อโจทก์
ส่วนการจัดองค์กรทำงานระหว่างจำเลยด้วยกันเองเป็นเรื่องภายในกลุ่มของจำเลย
เองไม่อาจยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้แบ่งแยกความรับผิดของจำเลยแต่ละคนต่อโจทก์ได้
ในฐานะวิศวกรผู้ออกแบบ
จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 จะต้องศึกษาถึงคุณสมบัติ ของมาสติค แอสฟัลท์อย่างละเอียด
โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับอุณหภูมิที่จะทำให้ มาสติค แอสฟัลท์อ่อนตัวหรือเปลี่ยนรูป
เพราะประเทศไทยมีอากาศร้อนและ พื้นผิวสะพานที่ออกแบบไว้เป็นเหล็ก อากาศร้อนย่อมมีโอกาสที่จะทำให้ความร้อน
ที่สะสมบนพื้นผิวสะพานที่ทำด้วยเหล็กสูงขึ้นจนทำให้มาสติค แอสฟัลท์อ่อนตัว
หรือเปลี่ยนรูปได้ ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 มิได้ศึกษาโดยละเอียดถึง คุณสมบัติของมาสติค
แอสฟัลท์ ส่วนจำเลยที่ 1 ที่ 3 ที่ 5 และที่ 6 ซึ่งเป็น วิศวกรผู้ควบคุมงานมีหน้าที่ต้องตรวจสอบแบบของวิศวกรผู้ออกแบบตั้งแต่แรก
ด้วยความระมัดระวังว่าสารกันน้ำซึมชนิดมาสติค แอสฟัลท์เหมาะสมที่จะใช้กับสะพาน
ที่มีพื้นผิวเป็นเหล็กหรือไม่ แต่กลับไม่ทำการตรวจสอบให้ดี เมื่อผู้รับเหมาทักท้วง
ก็หาได้รับทำการตรวจสอบหรือทดสอบให้ได้ความจริง แต่กลับยืนยันในระยะแรก ให้ใช้มาสติค
แอสฟัลท์ จนผู้รับเหมาต้องทักท้วงหลายครั้ง จึงทำให้การทดสอบ และยอมรับว่าไม่เหมาะสม
ย่อมเป็นความผิดพลาดบกพร่องไม่ใช้ความรู้ความ สามารถตามมาตรฐานวิชาชีพตามที่กำหนดไว้ในสัญญาจ้าง
จำเลยจึงต้องรับผิด ต่อโจทก์ในความเสียหายที่เกิดขึ้น
:: อายุความ, อายุความฟ้องผู้ออกตั๋วสัญญาใช้เงิน
4330/2544
การที่โจทก์ในฐานะผู้จ่ายหรือผู้รับรองตั๋วแลกเงินได้ใช้เงินให้แก่ ผู้รับเงินตามตั๋วแล้วฟ้องไล่เบี้ยเอาจากผู้ออกตั๋วแลกเงินนั้น
ไม่มีกฎหมายกำหนด อายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา
193/30 หาใช่มีอายุความ
3 ปี ตาม มาตรา 1001
ไม่ เมื่อตั๋วแลกเงินฉบับสุดท้าย ที่จำเลยที่ 1 เป็นผู้ออกนับแต่วันครบกำหนดสั่งจ่ายถึงวันฟ้องยังไม่พ้น
10 ปี ฟ้องโจทก์จึงยังไม่ขาดอายุความ
:: อายุความ, อายุความสะดุดหยุดลง, บังคับคดี, พ.ร.บ.ล้มละลายฯ
6928/2544
หนี้ตามคำพิพากษาที่โจทก์นำมาฟ้องเป็นสิทธิเรียกร้องที่ เกิดขึ้นโดยคำพิพากษาของศาลที่ถึงที่สุดซึ่งมีอายุความ
10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/32
เมื่อโจทก์นำหนี้ดังกล่าวมาฟ้องขอให้จำเลยล้มละลายภายใน กำหนด 10 ปี นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาย่อมมีผลเป็นการฟ้องคดี
เพื่อชำระหนี้อย่างหนึ่งตาม พ.ร.บ. ล้มละลายฯ อันทำให้อายุความแห่งสิทธิ เรียกร้องในหนี้ดังกล่าวสะดุดหยุดลงตาม
ป.พ.พ. 193/14 (2)
ระยะเวลา ภายหลังจากนั้นจึงไม่นับเข้าเป็นอายุความด้วย กรณีไม่ใช่เรื่องการบังคับคดี
จึงไม่อาจนำ ป.วิ.พ. มาตรา 271
มาใช้บังคับ หนี้ที่โจทก์นำมาฟ้องขอให้จำเลย ล้มละลายจึงไม่ขาดอายุความ
:: อายุความมรดก
7449/2544
เมื่อเจ้ามรดกถึงแก่ความตาย จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ซึ่งเป็นทายาทได้ เข้าครอบครองที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างอันเป็นทรัพย์มรดกโดยโจทก์มิได้เข้ามา
เกี่ยงข้องเลยเป็นเวลาเกิน 10 ปีแล้ว ฉะนั้น สิทธิของโจทก์ให้จำเลยทั้งสี่แบ่งมรดก
จึงต้องห้ามมิให้ฟ้องตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754
สิทธิในที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้าง จึงเป็นทรัพย์มรดกย่อมตกแก่จำเลยที่
1 ถึงที่ 3 โดยสมบูรณ์
หลังจากที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตายแล้ว
ช. ได้ยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการ มรดกแต่ก็เป็นเวลาภายหลังที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตายแล้วประมาณ
15 ปี และ เป็นเวลาภายหลังจากที่สิทธิของโจทก์ขาดอายุความมรดก และในการยื่นคำร้องขอ
ของ ช. ก็มิได้ระบุว่าโจทก์เป็นทายาท ครั้น ช. ขอถอนตัวจากการเป็นผู้จัดการมรดก
จำเลยที่ 4 ได้ยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก จำเลยที่ 4 ได้ยื่นคำร้องขอเป็น
ผู้จัดการมรดกก็ไม่ระบุว่าโจทก์เป็นทายาทเช่นกัน และเมื่อจำเลยที่ 1 ถึงที่
3 และ ป. ยื่นคำร้องคัดค้านขอให้ถอนจำเลยที่ 4 จากการเป็นผู้จัดการมรดกและตั้งจำเลย
ที่ 2 เป็นผู้จัดการมรดกแทน ได้มีการตกลงทำเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ ให้ที่ดินและตึกแถวตกแก่จำเลยที่
1 ถึงที่ 3 โดยจำเลยที่ 4 ถอนตัวจากการเป็น ผู้จัดการมรดกและให้จำเลยที่ 2
เป็นผู้จัดการมรดกแทน ดังนี้ การยื่นคำร้องขอ เป็นผู้จัดการมรดกโดย ช. และโดยจำเลยที่
4 การร้องคัดค้านของจำเลยที่ 1 ถึง ที่ 3 และ ป. ที่ให้ถอนจำเลยที่ 4 จากการเป็นผู้จัดการมรดก
รวมทั้งการ ทำสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นก็เพื่อจะดำเนินการให้มีอำนาจเปลี่ยนแปลง
หลักฐานทางทะเบียนเพื่อให้ได้สิทธิโดยสมบูรณ์ในที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้าง
อันเป็นทรัพย์มรดกเท่านั้น หาใช่เพื่อประโยชน์แก่โจทก์ซึ่งสิ้นสิทธิในการฟ้องคดี
เกี่ยวกับทรัพย์มรดกไปโดยบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา
1754 แล้วไม่ ฉะนั้น จึงถือไม่ได้ว่า
ช. ป. และจำเลยทั้งสี่ครอบครองทรัพย์มรดกของเจ้ามรดกแทน หรือเพื่อประโยชน์แก่โจทก์ไม่
โจทก์จะยกเอาประโยชน์แห่ง ป.พ.พ. มาตรา 1748
มาอ้างสิทธิเพื่อเรียกร้องให้จำเลยทั้งสี่แบ่งทรัพย์มรดกเมื่อล่วงพ้นกำหนดอายุความ
ตาม มาตรา 1754
แล้วหาได้ไม่
:: อายุความมรดก, ค่าฤชาธรรมเนียม , ฎีกา
7968/2544
ที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกที่ยังไม่ได้มีการแบ่งปัน การที่จำเลยมีชื่อ ในโฉนดที่ดินต้องถือว่าได้ถือไว้แทนทายาทอื่นด้วย
เมื่อโจทก์เป็นทายาทคนหนึ่งจึง เป็นผู้ครอบครองที่ดินพิพาทอันเป็นทรัพย์มรดกที่ยังไม่ได้แบ่งกันให้เสร็จสิ้นไป
โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องให้แบ่งมรดกนี้ได้ แม้ว่าจะล่วงพ้นกำหนดอายุความมรดกตาม
ป.พ.พ. มาตรา 1754
กรณีต้องตาม มาตรา 1748
ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
ที่จำเลยฎีกาว่าโจทก์ไม่ได้กล่าวถึงทรัพย์มรดกของ
ย. ไว้ในคำฟ้อง การที่ ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาให้โจทก์ได้รับที่ดินพิพาท 1
ใน 12 ส่วนของเนื้อที่ดิน ทั้งแปลงเท่ากับนำที่ดินส่วนที่เป็นมรดกของ ย. ไปแบ่งให้โจทก์ด้วย
เป็นการ พิพากษาเกินคำขอ นั้น จำเลยมิได้ฎีกาโต้แย้งคัดค้านคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์
ภาค 2 ว่าวินิจฉัยคลาดเคลื่อนหรือไม่ถูกต้องอย่างไรบ้าง เพียงแต่อ้างว่าส่วนแบ่งของ
โจทก์ที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดให้นั้นไม่ถูกต้อง เพราะเกินคำขอ จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้ง
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249
วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
คำสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมแม้จะไม่มีคำขอของคู่ความฝ่ายใด
ก็เป็น หน้าที่ของศาลจะต้องสั่งลงไว้ในคำพิพากษาตาม ป.วิ.พ. มาตรา
167 การที่ศาล ชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้วไม่ได้สั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียม
ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ย่อมมีอำนาจสั่งแก้ไขในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมที่ศาลชั้นต้นไม่ได้สั่งได้
โดยโจทก์ ไม่จำต้องอุทธรณ์ในเรื่องนี้
:: อายุความร้องทุกข์ของความผิดอันยอมความได้, พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ
7501/2544
ผู้เสียหายได้นำเช็คไปเรียกเก็บเงินในวันที่เช็คถึงกำหนดการใช้เงิน แต่มิได้รับเงินตามเช็คเนื่องจากธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน
แม้จะเป็นการปฏิเสธด้วย วาจากรณีก็ต้องถือวาธนาคารปฏิเสธการใช้เงินตามเช็คแล้วเพราะตาม
ป.พ.พ. ก็ดี พ.ร.บ.
ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ ก็ดีหาได้บัญญัติว่าการปฏิเสธการใช้เงิน
ตามเช็คนั้นต้องทำเป็นหนังสือไม่
ผู้เสียหายยินยอมให้จำเลยผัดผ่อนชำระเงินไปจนถึงวันที่
10 ตุลาคม 2540 ยิ่งเป็นข้อชี้แสดงให้เห็นว่าผู้เสียหายรู้เรื่องความผิดเกิดขึ้นและรู้ตัวว่าจำเลยเป็น
ผู้กระทำความผิดตั้งแต่วันที่ 17 มิถุนายน 2540 ซึ่งเป็นวันที่เช็คถึงกำหนด
การใช้เงิน แต่ปรากฏว่าผู้เสียหายเพิ่งไปร้องทุกข์ในวันที่ 5 มกราคม 2541 จึงเกินกำหนด
3 เดือนนับแต่วันที่ผู้เสียหายรู้เรื่องความผิดและรู้ตัวว่าจำเลยกระทำ ความผิด
คดีของโจทก์จึงขาดอายุความตาม ป.อ. มาตรา 96
:: อายุความสะดุดลง,อายุความฟ้องผู้ออกตั๋วสัญญาใช้เงิน,
พ.ร.บ.ล้มละลายฯ
5314/2544
มูลหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินมีอายุความ 3 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา
1001 การที่เจ้าหนี้ได้นำหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินฟ้องลูกหนี้เป็นคดีล้มละลายก่อนที่ตั๋ว
สัญญาใช้เงินแต่ละฉบับจะครบกำหนดอายุความ เป็นการฟ้องคดีเพื่อตั้งหลักฐาน สิทธิเรียกร้อง
ไม่ใช่เป็นเพียงเพื่อให้จัดการทรัพย์สินของลูกหนี้ผู้ล้มละลายแต่ อย่างเดียว
ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงตาม ป.พ.พ. มาตรา 173
(เดิม) แม้ ต่อมาเจ้าหนี้ได้ถอนฟ้องคดีล้มละลายอันเป็นผลให้ไม่นับว่าเป็นเหตุให้อายุความ
สะดุดลงตาม มาตรา 174
(เดิม) ก็ตาม แต่เมื่อพ้นกำหนดอายุความตามตั๋ว สัญญาใช้เงินแล้ว ลูกหนี้ได้ทำสัญญารับสภาพหนี้ยอมรับผิดชดใช้หนี้ต่อเจ้าหนี้
ถือได้ว่าลูกหนี้ได้ละเสียซึ่งอายุความที่ครบบริบูรณ์ และเริ่มนับอายุความใหม่ตั้งแต่
วันรับสภาพหนี้ เมื่อเจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ก่อนครบกำหนดอายุความซึ่งมี
กำหนดเวลา 3 ปี เจ้าหนี้ย่อมมีสิทธิยื่นคำขอรับชำระหนี้ได้
:: อายุความสะดุดหยุดลง อายุความ บังคับคดี พ.ร.บ.ล้มละลายฯ
3017/2544
กำหนดระยะเวลาบังคับคดี 10 ปี ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271
จะนำมาใช้กับกรณีที่เจ้าหนี้นำมูลหนี้ตามคำพิพากษาคดีแพ่งมาฟ้อง ลูกหนี้เป็นคดีล้มละลายแล้วขอรับชำระหนี้ไม่ได้
เพราะมิใช่เรื่องร้องขอให้บังคับ คดีตามคำพิพากษาคดีแพ่งแต่เป็นเรื่องการนำเอาสิทธิเรียกร้องที่มีอยู่มาใช้
บังคับแก่ลูกหนี้ จึงต้องอยู่ภายใต้บังคับเรื่องอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา
193/32 ซึ่งบัญญัติว่า
สิทธิเรียกร้องที่เกิดขึ้นโดยคำพิพากษาของศาลที่ถึง ที่สุดให้มีกำหนดอายุความ
10 ปี เมื่อเจ้าหนี้ฟ้องลูกหนี้ให้เป็นบุคคลล้มละลาย โดยอาศัยมูลหนี้ตามคำพิพากษาไม่เกินกำหนดระยะเวลา
10 ปี ย่อมเป็นการ ฟ้องคดีเพื่อให้ชำระหนี้อย่างหนึ่งตามวิธีการที่ พ.ร.บ.
ล้มละลายฯ บัญญัติไว้ โดยเฉพาะ ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงตาม ป.พ.พ. มาตรา
193/14 (2) ดังนั้น
เมื่อเจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในระหว่างเวลาที่อายุความสะดุดหยุดลง เจ้าหนี้จึงมีสิทธิเรียกร้องให้ลูกหนี้ชำระหนี้ในมูลหนี้ตามคำพิพากษาคดีแพ่งได้
ไม่ต้องห้ามมิให้ได้รับชำระหนี้ตาม พ.ร.บ. ล้มละลายฯ มาตรา
94 (1)
:: อายุความสะดุดหยุดลง, อายุความ
8805/2544
การที่โจทก์ให้บริการประเภทบัตรเครดิตแก่สมาชิกทำให้สมาชิกสามารถ ใช้บัตรเครดิตที่โจทก์ออกให้ไปชำระสินค้าหรือบริการโดยไม่ต้องนำเงินไปชำระ
ทันที โจทก์เป็นผู้ชำระแทนสมาชิกไปก่อนแล้วจึงเรียกเก็บจากสมาชิกภายหลัง หรือสมาชิกสามารถนำบัตรไปถอนเงินสดล่วงหน้าจากบัญชีเงินฝากของโจทก์
โดยผ่านเครื่องฝากถอนเงินอัตโนมัติ โดยโจทก์เรียกค่าธรรมเนียมจากสมาชิก เป็นกรณีที่โจทก์ผู้ประกอบธุรกิจในการรับการทำงานต่างๆ
เรียกเอาเงินที่ได้ออก ทดรองไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34
(7) การฟ้องเรียกเงินทดรองของโจทก์ จึงมีอายุความ 2 ปี โจทก์แจ้งให้จำเลยชำระหนี้ที่เกิดจากการใช้บัตรเครดิตภายใน
วันที่ 7 พฤษภาคม 2540 แต่จำเลยไม่ชำระตามกำหนด ถือว่าจำเลยตกเป็น ผู้ผิดนัด
โจทก์ย่อมบังคับสิทธิเรียกร้องของตนได้ตั้งแต่วันที่ 8 พฤษภาคม 2540 ซึ่งจะครบกำหนดอายุความในวันที่
7 พฤษภาคม 2543 การที่จำเลย ชำระหนี้บางส่วนเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2542 นั้น
เป็นการชำระหนี้ภายหลัง จากขาดอายุความแล้ว จึงเพียงแต่ทำให้ลูกหนี้เรียกคืนไม่ได้ตาม
มาตรา 193/28
วรรคหนึ่ง เท่านั้น ไม่เป็นการรับสภาพหนี้อันจะทำให้อายุความสะดุดหยุดลงตาม
มาตรา 193/14
(1) เมื่อโจทก์ฟ้องคดีวันที่ 9 สิงหาคม 3543 ซึ่งหลังครบ กำหนดอายุความแล้ว
ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความ
:: อายุความสะดุดหยุดลง, บังคับคดี, ป.รัษฎากรฯ
586/2544
เมื่อจำเลยได้รับหนังสือแจ้งการประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคล ถือว่าเจ้าพนักงานประเมินของโจทก์ได้ใช้สิทธิเรียกร้องเอาแก่จำเลยแล้ว
นับว่า มีผลเป็นอย่างเดียวกับการฟ้องคดี เพราะ ป. รัษฎากรฯ มาตรา
12 ให้อธิบดีมี อำนาจสั่งยึดหรืออายัดและขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ต้องรับผิดเสียภาษี
อากรค้างได้โดยมิต้องขอให้ศาลออกหมายบังคับคดี จึงเป็นเหตุให้อายุความ สะดุดหยุดลงตาม
ป.พ.พ. มาตรา 193/14
(5) อายุความเรียกร้องให้จำเลย ชำระหนี้ค่าภาษีอากรจึงเริ่มนับแต่วันพ้นกำหนดระยะเวลาที่เจ้าพนักงานประเมิน
ได้กำหนดให้ชำระเงินค่าภาษีอากร
สำหรับวิธีการยึดหรืออายัดและขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ต้องรับผิด
เสียภาษีอากรตาม ป. รัษฎากรฯ มาตรา 12
วรรคสี่ ให้ปฏิบัติตาม ป.วิ.พ. โดย อนุโลมจึงต้องใช้ภายในเวลา 10 ปี ตาม ป.วิ.พ.
มาตรา 271
แก่กำหนดเวลา ดังกล่าวมิใช่อายุความแห่งสิทธิเรียกร้องอันจะอยู่ภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติ
ว่าด้วยอายุความตาม ป.พ.พ. จึงไม่อาจนำบทบัญญัติเกี่ยวกับอายุความสะดุด หยุดลงมาใช้บังคับได้
การที่โจทก์มีคำสั่งอายัดเงินที่จำเลยมีสิทธิได้รับเป็น เพียงขั้นตอนในการบังคับคดีเท่านั้น
ไม่ใช่การกระทำอื่นใดอันมีผลเป็นอย่าง เดียวกันกับการฟ้องคดี จึงไม่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลง
เมื่อโจทก์ฟ้องคดี เกิน 10 ปีนับแต่วันที่ได้ใช้สิทธิเรียกร้องบังคับเอาแก่จำเลยแล้ว
ย่อมหมดสิทธิ ที่จะบังคับคดีแก่จำเลยจึงไม่อาจนำหนี้ที่พ้นกำหนดเวลาบังคับคดีมาฟ้องให้
จำเลยล้มละลายได้
:: อายุความสะดุดหยุดลง, อายุความ
5795/2544
โจทก์เป็นองค์การของรัฐบาลมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือเกษตรกร ตามที่บัญญัติไว้ใน
พ.ร.ฎ. จัดตั้งองค์การตลาดเพื่อเกษตรกรฯ มาตรา 6 (1)
ถึง (8) แม้ตาม (8) จะระบุว่าเพื่อจัดหาปัจจัยในการผลิตและเครื่องอุปโภคและบริโภค
อันจำเป็นจำหน่ายให้แก่เกษตรกร แต่ก็กำหนดไว้ว่าต้องเป็นราคาอันสมควร จึงมิใช่
เป็นการประกอบธุรกิจการค้าซึ่งมุ่งแสวงหากำไรเป็นปกติธุระ ส่วนที่ตามสัญญาซื้อขาย
ปุ๋ยกำหนดราคาปุ๋ยสูงขึ้นในกรณีที่จำเลยชำระราคาล่าช้านั้น หาได้แสดงว่าโจทก์
มีวัตถุประสงค์แสวงหากำไรแต่ประการใดไม่ โจทก์จึงมิใช่ผู้ประกอบการค้า ตามความหมายของ
ป.พ.พ. มาตรา 193/34
(1) จึงต้องใช้อายุความ 10 ปี ตาม มาตรา 193/30
จำเลยชำระราคาปุ๋ยหลายครั้ง
มีผลทำให้อายุความสะดุดหยุดลง ต้อง เริ่มนับอายุความใหม่ตั้งแต่เวลาชำระราคาปุ๋ยครั้งสุดท้ายตาม
มาตรา 193/15
วรรคสอง
:: อายุความสะดุดหยุดลง, อายุความ
117/2544
จำเลยทำสัญญาประกันตัวผู้ต้องหาไปจากการควบคุม ของโจทก์และผิดสัญญาไม่ส่งตัวผู้ต้องหาตามกำหนดในวันที่
30 เมษายน 2529 โจทก์จึงมีคำสั่งปรับจำเลย ต่อมาจำเลยนำค่าปรับ มาชำระแก่โจทก์ในวันที่
22 มิถุนายน 2535 แต่ไม่ชำระดอกเบี้ย ของค่าปรับในช่วงระหว่างผิดสัญญาจนถึงวันชำระค่าปรับ
ดังนี้ ดอกเบี้ยตามฟ้องเป็นจำนวนเงินที่แยกออกจากต้นเงินค่าเบี้ยปรับ ดอกเบี้ยจึงเป็นหนี้คนละส่วนกับต้นเงิน
ดังนั้น การที่จำเลยชำระ ต้นเงินให้แก่โจทก์จึงมิใช่การชำระหนี้บางส่วนที่จะถือว่าลูกหนี้
รับสภาพหนี้ต่อเจ้าหนี้อันมีผลทำให้อายุความสะดุดหยุดลงตาม ป.พ.พ. มาตรา
193/14(1) ดอกเบี้ยที่โจทก์ฟ้องเนื่องจากจำเลย
ผิดสัญญาประกันเป็นดอกเบี้ยค้างชำระมีอายุความ 5 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา
193/33(1) โจทก์ฟ้องเรียนดอกเบี้ยค้างชำระ
ตั้งแต่วันที่ 30 เมษายน 2529 ถึง 22 มิถุนายน 2535 ซึ่งนับถึง วันฟ้องเลยกำหนด
5 ปี คดีโจทก์ขาดอายุความ
:: อำนาจปกครองบุตร
1000/2544
โจทก์จำเลยจดทะเบียนหย่าขาดจาดการเป็นสามี ภริยากันโดยมีบันทึกข้อตกลงเป็นหนังสือท้ายทะเบียนหย่าให้โจทก์
ซึ่งเป็นบิดาเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์ทั้งสองเพียงผู้เดียว กรณีต้องตาม
ป.พ.พ. มาตรา 1520
วรรคหนึ่ง เมื่อศาลยังไม่ได้สั่ง เพิกถอนอำนาจปกครองของโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา
1582 วรรคหนึ่ง แล้ว
โจทก์จึงเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์แต่เพียงผู้เดียวตาม ป.พ.พ. มาตรา
1566 (6) ข้อตกลงตามสัญญาหย่าระบุเพียงให้จำเลย
ไปมาหาสู่บุตรผู้เยาว์ทั้งสองได้ตลอดเวลา หามีข้อตกลงให้จำเลยรับบุตร ผู้เยาว์ทั้งสองไปอุปการะเลี้ยงดูไม่
จำเลยจึงไม่มีสิทธิจะนำบุตรผู้เยาว์ ทั้งสองไปอยู่ด้วย
:: อำนาจปกครองบุตร ถอนอำนาจปกครอง การตั้งผู้ปกครอง
2563/2544
แม้บิดาและมารดาจะจดทะเบียนหย่าโดยตกลงให้มารดา เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์แต่ฝ่ายเดียวก็เป็นเรื่องการตกลงตาม
ป.พ.พ. มาตรา 1520
วรรคหนึ่ง ประกอบ มาตรา 1566
วรรคสอง (6) มิใช่เป็นกรณี ที่บิดาถูกถอนอำนาจปกครองโดยศาล ฉะนั้น เมื่อมารดาของผู้เยาว์ถึงแก่กรรม
อำนาจปกครองผู้เยาว์ก็กลับมาอยู่แก่บิดาฝ่ายเดียวตาม มาตรา
1566 วรรคสอง (1) หากบิดาของผู้เยาว์ยังไม่ถูกถอนอำนาจปกครอง
ก็ไม่อาจตั้งผู้ปกครองได้ แต่อย่างไรก็ตาม ป.พ.พ. มาตรา
1582 วรรคหนึ่ง ได้ให้อำนาจศาลถอนอำนาจ
ปกครองได้โดยลำพังไม่ต้องร้องขอก็ได้หากมีเหตุตามบทบัญญัติกฎหมายดังกล่าว ดังนั้น
แม้ผู้ร้องจะไม่มีอำนาจยื่นคำร้อง แต่เมื่อปรากฏแก่ศาลว่า พฤติการณ์ที่บิดา
ของผู้เยาว์ถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำและไม่ได้อุปการะเลี้ยงดูผู้เยาว์โดยให้อยู่ในความ
ดูแลของผู้ร้อง ถือได้ว่าเป็นการประพฤติชั่วอย่างร้ายแรงและใช้อำนาจปกครอง
แก่ตัวผู้เยาว์โดยมิชอบ ศาลจึงมีอำนาจพิพากษาให้เพิกถอนอำนาจปกครองบิดา ผู้เยาว์และตั้งผู้ร้องเป็นผู้ปกครองผู้เยาว์ได้
:: อำนาจฟ้อง, พ.ร.บ. การรับขนของทางทะเลฯ
6282/2544
โจทก์เป็นผู้ขนส่งสินค้า ส่วนจำเลยเป็นผู้ขนส่งอื่นเมื่อสินค้า เปียกน้ำเสียหายในระหว่างการขนส่งของจำเลย
โจทก์และจำเลยจึงต้องรับผิด ต่อผู้รับตราส่งอย่างลูกหนี้ร่วมตาม พ.ร.บ. การรับขนของทางทะเลฯ
มาตรา 45
ซึ่งหมายความว่าโจทก์และจำเลยต่างมีฐานะเป็นลูกหนี้ด้วยกัน โจทก์ไม่ได้เป็น
เจ้าหนี้จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์ ประกอบกับคำฟ้องอุทธรณ์
ของโจทก์ยอมรับว่าโจทก์ยังไม่ได้ชำระหนี้ให้แก่บริษัท ม. ผู้รับตราส่งหรือบริษัท
ก. ผู้รับประกันภัยสินค้าพิพาทโจทก์จึงไม่ใช่ผู้รับช่วงสิทธิจากบุคคลดังกล่าวซึ่ง
เป็นเจ้าหนี้ ดังนั้น แม้โจทก์จะทวงถามให้จำเลยชำระหนี้และจำเลยปฏิเสธก็ถือไม่ได้
ว่าโจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิตามกฎหมายเพราะโจทก์ไม่มีสิทธิก่อน ที่โจทก์อ้างว่าโจทก์
ฟ้องขอให้จำเลยชำระเงินเพื่อนำไปชำระแก่ผู้เสียหายไม่ใช่เป็นการฟ้องไล่เบี้ย
แต่เป็นการฟ้องเพื่อตั้งหลักฐานแห่งสิทธิเรียกร้องเพื่อให้อายุความสะดุดหยุดลง
เนื่องจากหนี้จะขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14
(2) นั้น ผู้ที่มีสิทธิ ฟ้องร้องตาม มาตรานี้จะต้องเป็นเจ้าหนี้เช่นเดียวกัน
เมื่อโจทก์ไม่ใช่เจ้าหนี้และ ไม่ถูกโต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่ตามกฎหมาย โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
:: โอนสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
2366/2544
พ. ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่ดินที่ถูกเวนคืน กับนายอำเภอภาษีเจริญและรับเงินค่าทดแทนไปครบถ้วนแล้ว
โดยสัญญา จะซื้อจะขายมีข้อความว่า พ. ผู้ขายตกลงขายที่ดินให้แก่ผู้ซื้อเพื่อจัดสร้างถนน
โดยจะนำโฉนดไปขอรังวัดแบ่งแยกเป็นที่ดินสาธารณะและให้ผู้ซื้อมีสิทธิเข้าดูแล
สถานที่ได้ทันทีนับแต่วันทำสัญญา เห็นได้ชัดเจนว่า พ. มีเจตนาขายที่ดินพิพาท
เพื่อให้ก่อสร้างถนนสาธารณะโดยให้ยอมสร้างได้ทันที ที่ดินพิพาทจึงตกเป็น สาธารณสมบัติของแผ่นดินที่พลเมืองใช้ประโยชน์ร่วมกันทันทีนับแต่วันทำสัญญา
แม้ภายหลังจะไม่ได้มีการจดทะเบียนโอนกันก็ตาม ที่ดินพิพาทจึงจะโอนให้ แก่กันมิได้ตาม
ป.พ.พ. มาตรา 1305
การที่ พ. แบ่งแยกโฉนดที่ดินพิพาทออก เป็นชื่อของ พ. แล้วมีการโอนต่อให้ อ.
และ อ. นำไปขายฝากให้แก่ น. แล้ว น. โอนให้แก่โจทก์ ผู้รับโอนต่อๆ มารวมทั้งโจทก์ก็หาได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทของ
พ. ไม่
:: โอนสิทธิเรียกร้อง
8040/2544
การโอนสิทธิเรียกร้องระหว่างผู้ร้องกับจำเลยที่ 1 ได้ทำเป็นหนังสือ และมีการบอกกล่าวการโอนเป็นหนังสือไปยังการกีฬาแห่งประเทศไทยซึ่งมีฐานะเป็น
ลูกหนี้ของจำเลยที่ 1 อีกทั้งการกีฬาแห่งประเทศไทยได้ตอบรับทราบการโอนเป็น
หนังสือแล้ว การโอนสิทธิเรียกร้องรายนี้เกิดผลบริบูรณ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา
306 วรรคหนึ่ง แล้ว อันมีผลให้สิทธิเรียกร้องของจำเลยที่
1 ในการรับเงินค่าจ้าง ก่อสร้างตกเป็นของผู้ร้องตั้งวันที่การกีฬาแห่งประเทศไทยรับทราบการโอนสิทธิ
เรียกร้อง ส่วนจำเลยที่ 1 ย่อมหมดสิทธิที่จะรับเงินจำนวนดังกล่าวอีกต่อไป การที่
การกีฬาแห่งประเทศไทยไม่ยอมจ่ายเงินดังกล่าวแก่ผู้ร้องโดยอ้างว่ามีคำสั่งอายัด
สิทธิเรียกร้องของจำเลยที่ 1 ไว้ชั่วคราวก่อนพิพากษาและได้จ่ายเงินให้แก่ เจ้าพนักงานบังคับคดีผู้เป็นตัวแทนของโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของ
จำเลยที่ 1 ไป จึงเป็นการปฏิบัติโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายเป็นการละเมิดสิทธิ ของผู้ร้อง
เมื่อผู้ร้องต้องได้รับความเสียหายก็ชอบที่จะไปดำเนินการเรียกร้องตาม สิทธิของตน
ไม่มีสิทธิที่จะขอให้ศาลมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีเรียกร้องคืน จากโจทก์และขอให้เพิกถอนคำสั่งอายัดชั่วคราวได้
|
|